บ้านห้วยสีเสียด

ไม่ระบุเวลา

แผนที่การเดินทาง

ติดต่อสอบถาม

ที่อยู่:
-ไม่ระบุ-
โทร:
-ไม่ระบุ-
อีเมล:
-ไม่ระบุ-
เว็บไซต์:
-ไม่ระบุ-
เฟซบุ๊ก:
-ไม่ระบุ-
ไลน์ไอดี:
-ไม่ระบุ-
ห้วย หมายถึง ลำธาร,ลำน้ำเล็กๆ สีเสียด หมายถึง ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ลำต้นปลายตรงเปลือกสีเทาคล้ำ ชาวบ้านใช้เปลือกไม้ชนิดนี้มาเคี้ยวแทนหมาก

ประวัติบ้านห้วยสีเสียด
หมู่ 1 ตำบลห้วยสีเสียด อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย

ความเป็นมาบ้านห้วยสีเสียด
ห้วย หมายถึง ลำธาร,ลำน้ำเล็กๆ
สีเสียด หมายถึง ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ลำต้นปลายตรงเปลือกสีเทาคล้ำ ชาวบ้านใช้เปลือกไม้ชนิดนี้มาเคี้ยวแทนหมาก
เมื่อประมาณ 79 ปีที่ผ่านมา มีนายกุ สาริภา และนางไพร สาริภา ได้มาจับจองพื้นที่เพื่อที่จะมาทำไร่ข้าวเป็นคนแรก บ้านนี้มีชื่อว่า “บ้านทับพ่อโฮม” เป็นที่นัดหมาย พบปะของคนที่ผ่านไปมา หรือเรียกอีกชื่อว่า “ท่าอาบช้าง” เริ่มแรกมีผู้อาศัยอยู่ 5 ครอบครัว จากนั้นมีผู้อาศัยขึ้นเรื่อยๆ จึงได้ตั้งเป็นหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านคือ “นายอิน สาริภา” ซึ่งตั้งหมู่บ้านที่หมู่ 10 มีอาชีพการเกษตร ทำไร่ ทำนาต่อมาไม่นาน นายเขียว อุปรีที พร้อมด้วยชาวบ้านได้ร่วมกันตั้งชื่อหมู่บ้านมาใหม่ คือ “บ้านห้วยสีเสียด” ซึ่งหมู่บ้านนี้จะเรียกตามลำห้วยเดิม เป็นลำห้วยเล็กๆ เกิดจากภูค้อน้อยมีน้ำไหลผ่านและมีพันธุ์ไม้ชื่อ “สีเสียด” ขึ้นตามริมฝั่งห้วยเป็นจำนวนมาก เป็นไม้ประเภทเนื้อแข็ง สูงใหญ่ สมัยก่อนผู้คนในหมู่บ้านจะเอาเปลือกสีเสียดไปเคี้ยวกับหมาก ดังนั้นจึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านห้วยสีเสียด” ตราบจนทุกวันนี้

สถานที่สำคัญ

วัดไพรสณฑ์ ตั้งอยู่ที่เลขที่ ๑๒๔ บ้านห้วยสีเสียด หมู่ ๑ ตำบลห้วยสีเสียด อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๘ ไร่ ๒๐ ตารางวา วัดไพรสณฑ์ ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ โดยมีพระสมจิตร สุจิตฺโต นายวิเชียร เคหัง ผู้ใหญ่บ้าน และราษฎรในหมู่บ้านช่วยกันสร้างขึ้น และให้ชื่อวัดว่า ไพรสณฑ์ เพราะมีไม้นานาพันธุ์ขึ้นอยู่ในบริเวณรอบๆ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๓


ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอภูหลวง โดย กศน.อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้านเล่มที่8 สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย

สิ่งอำนวยความสะดวก