บ้านสงาว

ไม่ระบุเวลา

แผนที่การเดินทาง

ติดต่อสอบถาม

ที่อยู่:
Huai Phichai, Pak Chom District, Loei 42150,
โทร:
-ไม่ระบุ-
อีเมล:
-ไม่ระบุ-
เว็บไซต์:
-ไม่ระบุ-
เฟซบุ๊ก:
-ไม่ระบุ-
ไลน์ไอดี:
-ไม่ระบุ-
ชื่อหมู่บ้าน ตั้งตามชื่อของลำห้วยที่ไหลผ่านหมู่บ้านคือ ลำน้ำสงาว เรียก บ้านปากหงาว ต่อมาเพี้ยนมาเป็นสงาว

ประวัติบ้านสงาว
หมู่ 4 ตำบลห้วยพิชัย อำเภอปากชม จังหวัดเลย
ความหมายของชื่อหมู่บ้าน
ชื่อหมู่บ้านไม่มีความหมาย ตั้งตามชื่อของลำห้วยที่ไหลผ่านหมู่บ้านคือ ลำน้ำสงาว เรียก บ้านปากหงาว ต่อมาเพี้ยนมาเป็นสงาว

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
เมื่อประมาณ 120 ปีมาแล้วได้เกิดสงครามที่เมืองเชียงขวางทางฝั่งประเทศลาวทำให้ราษฎรเดือดร้อนและอพยพหลบหนีภัยสงครามซึ่งในขณะนั้นสองสามีภรรยาชื่อนายยา กับ นางแก้ว (ไม่ทราบนามสกุล) ได้ล่องเรือตามน้ำโขงเข้ามาอาศัยอยู่บริเวณปากห้วยน้ำหงาวซึ่งเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ ต่อมาได้มีราษฎรจากที่ต่างๆย้ายเข้ามาสมทบและชาวบ้านพากันตั้งชื่อหมู่บ้านว่า“บ้านด่านสงาวกลาง” ขึ้นการปกครองต่อเขตอำเภอเชียงคาน และต่อมาได้ทำการจัดตั้งการปกครองขึ้นใหม่โดยมีการเลือกผู้นำในหมู่บ้านและได้ตั้งนายตา (ไม่ทราบนามสกุล) เป็นผู้นำในหมู่บ้านในขณะเดียวกันก็ได้ลงความเห็นให้เปลี่ยนชื่อบ้านจาก “บ้านด่านสงาวกลาง” เป็นบ้าน “สงาว” คือ บ้านสงาว หมู่ 4 จนถึงปัจจุบัน

ลักษณะที่ตั้งของหมู่บ้าน
บ้านสงาว หมู่ 4 ตำบลห้วยพิชัย ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอปากชม ห่างจากอำเภอปากชม ประมาณ 10 กิโลเมตร เนื้อที่ของหมู่บ้าน บ้านสงาวมีเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับ บ้านโนนสวรรค์
ทิศใต้ ติดกับบ้านปากเนียม
ทิศตะวันออก ติดกับบ้านปากปัด
ทิศตะวันตก ติดกับประเทศลาว

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ บ้านสงาวเป็นพื้นที่ราบลุ่มของลำน้ำหงาวและริมน้ำโขงเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านและพื้นที่เพาะปลูกในด้านการเกษตรนั้นเป็นภูเขาส่วนที่ราบมีเพียงเฉพาะบริเวณริมฝั่งน้ำหงาว
ภูเขา เป็นลักษณะเนินยาวเล็กๆ สามารถทำการเกษตรและเพาะปลูกได้
แม่น้ำ บ้านสงาวมีน้ำหงาวไหลผ่านหมู่บ้านเป็นลำน้ำที่ใช้ประโยชน์ในการเกษตรตลอดปี มีความยาวประมาณ 63 กิโลเมตร ซึ่งไหลผ่านตำบลห้วยบ่อซืน ตำบลเชียงกลม และตำบลห้วยพิชัยไหลลงสู่แม่น้ำโขงพื้นที่และการใช้ประโยชน์(สภาพพื้นที่ของหมู่บ้าน และการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ทั้งหมด)สภาพพื้นที่ของบ้านสงาวนั้นร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด สามารถใช้ประโยชน์ส่วนที่เหลือนั้นเป็นที่สาธารณะประโยชน์และภูเขาเล็กๆ ที่เป็นหินจะใช้ประโยชน์ไม่ได้ เนื้อที่ทั้งหมดมีประมาณ 2,000 ไร่ และใช้ประโยชน์ประมาณ 1,600 ไร่
ภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู
ฤดูร้อน ช่วงเดือน มีนาคม – กรกฎาคม
ฤดูฝน ช่วงเดือน สิงหาคม – ตุลาคม
ฤดูหนาว ช่วงเดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์

ผู้นำชุมชน
1. นายแสนวิเศษ พ.ศ. 2420 – 2440 ผู้ใหญ่บ้าน
2. นายทอง พ.ศ.2440-2460 ผู้ใหญ่บ้าน
3. นายผา พ.ศ. 2460-2470 ผู้ใหญ่บ้าน
4. นายมา แสงสว่าง พ.ศ. 2470-2476 ผู้ใหญ่บ้าน
5. นายเบ้า แก้วมั่น พ.ศ.2476-2485 ผู้ใหญ่บ้าน
6. นายคูณ จันปิตุ พ.ศ. 2485-2487 ผู้ใหญ่บ้าน
7. นายอ้าว ตันมิ่ง พ.ศ. 2487-2493 ผู้ใหญ่บ้าน
8. นายโค้น น้อยตา พ.ศ.2493-2495 ผู้ใหญ่บ้าน
9. นายค้าย พลหอม พ.ศ. 2495-2500 ผู้ใหญ่บ้าน
10. นายฝน ดีมั่น พ.ศ. 2500-2502 ผู้ใหญ่บ้าน
11. นายส่วน ดียิ่ง พ.ศ. 2502-2510 ผู้ใหญ่บ้าน
12. นายสุฤทธิ์ เบ้าแก้ว พ.ศ. 2510-2513 ผู้ใหญ่บ้าน
13. นายท่อนคำ แขวงเมือง พ.ศ. 2513-2523
ผู้ใหญ่บ้าน
14. นายประนอม พลหอม พ.ศ. 2523-2528 ผู้ใหญ่บ้าน
15. นายสงกรานต์ ดีมั่น พ.ศ. 2528-2539 ผู้ใหญ่บ้าน
16. นางวารี บางทราย พ.ศ. 2539-2544 ผู้ใหญ่บ้าน
17. นายหนนิน เหง้าแก้ว พ.ศ. 2544-2549 ผู้ใหญ่บ้าน
18. นายสงคราม ดีมั่น พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน ผู้ใหญ่บ้าน

ประเพณี / วัฒนธรรม
ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีในบ้านสงาวได้ยึดหลักจารีตประเพณีที่เคยปฏิบัติมาแต่มีบางอย่างที่หดหายและได้ลดความสำคัญลง ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านคือการทำบุญประทายข้าวเปลือก หรือบุญประจำปีของหมู่บ้าน

ด้านการท่องเที่ยว
บ้านสงาวมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญคือ “หาดสวรรค์”ซึ่งถือว่าเป็นหาดที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งในอำเภอปากชม ซึ่งในแต่ละปีจะมีการจัดงานประเพณี วันสงกรานต์ ขึ้นเป็นประจำของทุกปี และมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวซึ่งทำรายได้ให้กับหมู่บ้านสงาวปีละหลายแสนบาท


ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอปากชม โดย กศน.อำเภอปากชม จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย พ.ศ.2553

สิ่งอำนวยความสะดวก