วันพระ วันโกน คืออะไร?

"วันนี้วันพระ" เป็นประโยคที่แอดมินได้ยินมาตั้งแต่เด็กๆ ซึ่งก็เข้าใจกันมาว่า ถ้าบอกว่าเป็นวันพระ วันนั้นชาวพุทธจะร่วมกันเข้าวัดเพื่อทำบุญ แต่ความจริงแล้ว "วันพระ วันโกน" นั้น คือวันอะไร และมีประวัติความเป็นมาอย่างไรกันนะ??

เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ มารู้จักกับ "วันพระ วันโกน" กันค่ะ
วันพระหรือ วันธรรมสวนะหมายถึง วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพุทธศาสนา (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) กำหนดเดือนทางจันทรคติละ 4 วัน ได้แก่
-วันขึ้น 8 ค่ำ
- วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ)
- วันแรม 8 ค่ำ
- วันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)
ในวันพระพุทธศาสนิกชนถือเป็นวันสำคัญ ควรไปวัดเพื่อทำบุญ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และฟังธรรม สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอาจถือศีลแปดในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใดๆ การทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปยิ่งในวันอื่น

วันโกนคือ วันขึ้น 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ และวันแรม 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ ของทุกเดือน (หรือ วันแรม 13 ค่ำ หากตรงกับเดือนขาด) ซึ่งเป็นวันก่อนวันพระ 1 วันวันพระ คือ วันขึ้น 8 ค่ำกับ 15 ค่ำ และวันแรม 8 ค่ำกับ 15 ค่ำ ของทุกเดือน (หรือวันแรม 14 ค่ำ หากตรงกับเดือนขาด)

ประวัติความเป็นมา
ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร ได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลว่านักบวชศาสนาอื่น มีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าศาสนาพุทธยังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาติให้ภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชน ในวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำพุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็น วันธรรมสวนะ ( สำหรับวันธรรมสวนะนี้ เมืองไทยมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย )
ที่มา : www.dhammathai.org,วิกิพีเดีย