งานกาชาดดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย ชื่อเดิมงานกาชาดดอกฝ้ายบาน มะขามหวานเมืองเลย หรือบางคนอาจจะเรียกสั่นๆว่า งานดอกฝ้ายเมืองเลย
งานกาชาดดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย ชื่อเดิมงานกาชาดดอกฝ้ายบาน มะขามหวานเมืองเลย
หรือบางคนอาจจะเรียกสั่นๆว่างานดอกฝ้ายเมืองเลย ชื่อนี้สำหรับหลายคนคงคุ้นหูอย่างแน่นอน
เพราะถูกพูดถึงในเพลง
รักสลายดอกฝ้ายบาน แต่งโดยดาว บ้านดอนขับร้องโดยจินตหรา พูนลาภ ที่โด่งดังในอดีต
แต่มีน้อยคนที่จะรู้ที่มาที่ไป
และสาเหตุของการเปลี่ยนชื่อในแต่ละครั้งวันนี้ Gotoloei จะพาทุกท่านไปรู้จักกับ
งานกาชาดดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย แบบเจาะลึกกันครับ

กล่าวถึง
จังหวัดเลย
นั้นเป็นจังหวัดที่มีแนวเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมี "น้ำเหือง" และ "แม่น้ำโขง"
เป็นเขตแนวธรรมชาติกั้นพรมแดน จังหวัดเลยในช่วงฤดูหนาวของจังหวัดเลยนั้น ในอดีตอากาศจะหนาวจัด และต่อเนื่องยาวนานหลายเดือน
คือประมาณเดือนตุลาคมถึงมีนาคม อำเภอภูเรือ จังหวัดเลยเคยอากาศหนาวที่สุดในประเทศมาแล้ว
จังหวัดเลยจึงมีคำขวัญประจำจังหวัดว่า
"เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม”
( ปัจจุบัน
เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู ถิ่นที่อยู่อริยสงฆ์ มั่นคงความสะอาด
ตามหนังสือราชการที่ ลย0017.3/ว 5557
ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2559 ลงนามโดยนายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ในขณะนั้น)

เมื่ออากาศหนาวเหน็บเช่นนี้ ผู้คนจึงทำ ผ้าห่มสำหรับห่มกันหนาวกัน ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้หลักๆ ก็คือฝ้าย
โดยจะใช้ยัดเป็นไส้ในผ้าห่มส่วนผืนผ้านั้นก็จะทอขึ้นจากฝ้าย ผ้าห่มชนิดนี้ชาวเลยจะทำกันทั่วไป
ปัจจุบันนี้ก็ยังพอหาซื้อได้อยู่ที่อำเภอเชียงคานฝ้ายนี้ชาวบ้านก็จะปลูกเอง และนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย
จนถึงขนาดมีโรงหีบฝ้ายตั้งขึ้นหลาย แห่งเพื่อรับซื้อฝ้ายเพื่อนำไปขายต่ออย่างเป็นล่ำเป็นสันทีเดียว
และเนื่องจากจังหวัดเลย เป็นจังหวัดเดียวของประเทศที่ปลูกฝ้ายมากเป็นอันดับ ๑ ในสมัยนั้น

จุดเริ่มต้นของงานดอกฝ้ายเมืองเลย
“ประพันธ์ พลอยพุ่ม”
ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเลย ร่วมกับชาวเลยจัดงาน “
ดอกฝ้ายบานที่เมืองเลย
” ขึ้น
เริ่มจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2523ในสมัยนายวิชิต ลักษณสมพงษ์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ใช้ชื่องานว่า
“
ดอกฝ้ายบานที่เมืองเลย และงานกาชาดจังหวัดเลย
”โดยงานมีขึ้นระหว่างวันที่ 30 มกราคม ถึง 3 กุมภาพันธ์ 2523

ครั้งนั้นจัดขึ้นที่ด้านหลังที่ว่าการอำเภอเมืองเลยเก่า ติดกับศาลาเทศบาลเมืองเลยใน “
สวนสาธารณะกุดป่อง
”
ที่ล้อมรอบด้วยน้ำกุดป่องงานครั้งนั้นเพื่อส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การปลูกฝ้ายในฐานะเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดเลย
เพราะทำรายได้ให้จังหวัดเลยเป็นอันดับหนึ่งเลย เป็นจังหวัดเดียวของประเทศที่ปลูกฝ้ายมากเป็นอันดับ 1 ในสมัยนั้น
และเพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของจังหวัดเลยในด้านการท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีอยู่มากมาย
คือ ภูกระดึง ภูเรือ ภูหลวง ควบคู่กับการส่งเสริมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนในชนบท
ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้ท่องเที่ยวพักผ่อน รื่นเริงสนุกสนาน โดยในช่วงฤดูหนาวถือว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมกับการจัดงานมากที่สุด
เพราะเป็นช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น และฝ้ายกำลังออกดอกขาวบานสะพรั่งไปทั่วจังหวัดเลย

ต่อมาสภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนไป ฝ้ายซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของจังหวัดเลย ขาดการเอาใจใส่ส่งเสริม เกษตรกรหันไปสนใจปลูกมะขามหวาน ข้าวโพด มะม่วงหิมพานต์ ยางพารา อ้อยและมันสัมปะหลัง ในสมัย
นายชีวิน สุทธิสุวรรณ
เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ได้มอบหมายให้คณะกรรมการในครั้งนั้นผลักดันให้นำชื่อมะขามหวานเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง ของชื่องาน จึงได้เปลี่ยนชื่องาน จากชื่อเดิมเป็น "
งานกาชาดดอกฝ้ายบาน มะขามหวานเมืองเลย
" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 มาจนถึง พ.ศ.2557 โดยจัดต่อมาเป็นประจำทุกปี

ที่สนามหน้าศาลากลางจังหวัดเลย รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเลย โยงไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของคนในท้องถิ่น
จึงมีการแสดงสินค้าเกษตร สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และเพื่อเป็นการส่งเสริมความรักความสามัคคี และรักหวงแหนในวัฒนธรรมพื้นบ้าน
อันเป็นการพัฒนาสังคมโดยผ่านกระบวนการแสดงออกร่วมกัน ทางสภาวัฒนธรรมจังหวัด/อำเภอ/ตำบล/เทศบาล และศูนย์วัฒนธรรม
ได้ร่วมกันออกร้านในงานนี้ พร้อมทั้งจัดประกวดและสาธิตการแสดงวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยจัดในวันที่ 1 ถึง 9 กุมภาพันธ์ ของทุกปี

ต่อมาสมัย
นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์
เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ในปี พ.ศ.2557 จังหวัดเลย ประกาศปรับเปลี่ยนชื่อ
งานกาชาดดอกฝ้ายบานมะขามหวานเมืองเลย
เป็นงาน “
งานกาชาดดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย
“
เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
โดยจังหวัดเลยได้จัดการประกวดตั้งชื่องานกาชาดประจำปี ให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของจังหวัด และสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเปิดให้เด็ก
เยาวชนประชาชนทุกภาคส่วน ได้มีส่วนร่วมในการตั้งชื่องานกาชาดจังหวัดเลย ซึ่งเป็นงานประเพณีที่สำคัญ และเป็นการกระตุ้นและสร้างจิตสำนึก
ผูกพันกับถิ่นกำเนิดจังหวัดเลย มีผู้สนใจเสนอชื่องานเข้าประกวดจำนวนกว่า 100 ชื่อ และคณะกรรมการจัดการประกวดตั้งชื่อ
งานกาชาดจังหวัดเลยที่จังหวัดตั้งขึ้น ได้พิจารณาตัดสินให้ผลงานของ
นางสาวรัชฎาพร วรรณไชย
นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
เป็นชื่อชนะเลิศ คือ “
งานกาชาดดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย
“ โดยให้เหตุผลว่า จังหวัดเลยเป็นจังหวัดที่มีวัฒนธรรม
ที่เป็นเอกลักษณ์เป็นจังหวัดที่มีอากาศหนาว มีการปลูกฝ้าย เพื่อนำมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม เป็นจำนวนมาก จนได้ชื่อว่า
เป็นจังหวัดที่ผลิตฝ้ายเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ
งานกาชาดดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย
ถือได้ว่าเป็นงานใหญ่ของจังหวัดที่จะได้เห็นการมีส่วนร่วมของชาวเลยทุกอำเภอ
จะมีการจัดขบวนรถแห่ และขบวนการแสดงในพิธีเปิดงาน รวมทั้งการออกร้านแสดงถึงเอกลักษณ์ และผลงาน ผลผลิตเด่น
แยกเป็นร้านของแต่ละอำเภอและจัดระหว่างวันที่ 1-9 กุมภาพันธ์ ของทุกปี บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดเลย
ถึงแม้ว่าชื่อจะถูกเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาให้เข้ากับยุคสมัยแต่ว่า
งานกาชาดดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย
ก็ยังคงเป็นอีกหนึ่งงานสำคัญของจังหวัดเลย 1-9 กุมภาพันธ์ ของทุกปี อย่าลืมมาชมมาสัมผัสวัฒนธรรมของ เมืองเลยบ้านเฮากันนะครับ
ในปี 2561 ใช้ชื่องานว่า งานดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย
ข้อมูล
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเลย
ภาพ