หน้าฝนเราทำนามองวิถีนาปีที่เมืองเลย

หน้าฝนเข้ามาภาพชินตาที่เราเห็นก็คือชาวนาของจังหวัดเลย ก็เริ่มการทำกันอย่างแข็งขัน การทำนาในจังหวัดเลย
ไม่ได้มากมายถึงขั้นขายเป็นหลักหากแต่ทำเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนมากว่า ชาวนาในจังหวัดเลย ทำนาแบบไหนบ้างแล้วปัจจุบัน
ใครคือคนทำนา มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมๆ กันกับ Gotoloei ครับDSC_0021.jpg

เมืองแห่งทะเลภูเขา คำขึ้นต้นคำขวัญของจังหวัดเลย ที่อธิบายภูมิประเทศของจังหวัดเลยได้เป็นอย่างดี ด้วยมีภูเขาอยู่มากมาย การทำนาเองจึงทำนาที่ใช้น้ำ
ที่เรียง นาดำ นาหว่าน ได้เฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำหรือ ที่ราบ เชิงเขา ส่วนในพืนที่สูงที่ไม่มีน้ำหรือเขตที่แห้งแล้ว ที่เรียกกันว่านาโคก ก็จะทำข้าวไร่ หรือข้าวปลูกDSC_0026.jpg

การทำนาดำนั้นจะเน้นการใช้แรงงานคนในการถอนต้นกล้า และดำ(ปักต้นกล้าลงดิน) จากการสอบถามชาวบ้าน แม่ๆบอกว่าค่าแรงต่อวัน อยู่ที่ 350 - 450 บาท
ซึ่งถือว่าเป็นต้นทุนที่จำเป็นต้องจ่าย ยังไม่รวมค่าหว่าน ค่าไถ และยังค่ากับข้าว ค่าปุ๋ย ค่ายา ทั้งอื่นๆ อีกมากมาย ล้วนเป็นต้นทุนที่ต้องจ่ายทั้งสินDSC_0032.jpg

และที่สังเกตุได้คือคนที่ทำนาปัจจุบันนั้นก็จะมีแต่คนที่อายุมาก คุณป้าท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่าเหตุที่มีแต่คนแก่ทำนานั้น เพราะลูกหลานไปทำงานกรุงเทพ
ถึงหน้านาเขาก็ส่งเงินมาให้ เพื่อนำมาจ้างคน มาทำนา ไว้รอเวลากลับบ้าน ลูกดหลานก็จะมาเอาข้าวที่ทำนี่แหละ กลับไปกินที่กรุงเทพ ยายบอกว่า จ่ายแพงนะแต่ก็ต้องทำ เพราะข้าวที่แม่ทำกับข้างที่ซื้อในห้าง มันคนละความรู้สึกกัน ฟังมุมมองแล้วก็ตอบคำถามทีมงานคนหนึ่งได้เลยครับ เพราะเคยสงสัยมานานว่า ทำไมทำงานกินเองถึงจ่ายแพงกว่า ซื้อข้าวกินDSC_0037.jpg

ย้อนไปเมื่อหลายปีก่อน บ้านแอดเองที่วังสะพุงก็เต็มไปด้วยทุ่งนาเหมือนกัน แต่ด้วยวันเวลาเปลี่ยน ทุ่งนาก็กลายเป็นไร่อ้อย ที่สร้างรายได้่หลังให้กับหลายครอบครัวในแถบนั้น ภาพการทำนาจึงค่อยๆเลือนหายไป มีให้เห็นอยู่เพียงบางหมู่บ้านเท่านั้นDSC_0039.jpg
แม้จะเหลือน้อยแต่ก็ใช่ว่าจะไม่มี การทำนาคงไม่หายไปไหนหาก เรายังคงกินข้าวกันอยู่ วันเวลาเปลี่ยนไป วิถีชีวิตหลายๆอย่างของคนจังหวัดเลยก้เปลี่ยนตาม
แต่เมืองเลยก็ยังคงเป้นเมืองเลย ผู้คนน่ารักและยิ้มให้กันเสมอมา อ่านจบแล้วใครที่ยังไม่เคยทำนาหาเวลาไปลองสักครั้งนะครับ หรือใครที่เคยทำก็มาเล่ากันฟังกันได้นะครับผม