บ้านผาแบ่น

ไม่ระบุเวลา

แผนที่การเดินทาง

ติดต่อสอบถาม

ที่อยู่:
Bu Hom, Chiang Khan District, Loei,
โทร:
-ไม่ระบุ-
อีเมล:
-ไม่ระบุ-
เว็บไซต์:
-ไม่ระบุ-
เฟซบุ๊ก:
-ไม่ระบุ-
ไลน์ไอดี:
-ไม่ระบุ-
ผาแบ่น ตั้งตามชื่อภูเขาที่มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชันเกี่ยวพันกับตำนานรอยพระพุทธบาทภูควายเงิน โดยชาวบ้านเล่าว่าภูเขาลูกนี้ถูกนายพรานที่ไล่ยิงควายเงินใช้หน้าไม้ยิงไปถูกภูเขาจึงแบนครึ่งกลายเป็นผาจึงเรียกหน้าผาสูงชันนี้ว่าผาแบ่น

ประวัติและความเป็นมาของหมู่บ้าน

ความหมายของชื่อหมู่บ้าน ผาแบ่น ตั้งตามชื่อภูเขาที่มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชันเกี่ยวพันกับตำนานรอยพระพุทธบาทภูควายเงิน โดยชาวบ้านเล่าว่าภูเขาลูกนี้ถูกนายพรานที่ไล่ยิงควายเงินใช้หน้าไม้ยิงไปถูกภูเขาจึงแบนครึ่งกลายเป็นผาจึงเรียกหน้าผาสูงชันนี้ว่าผาแบ่น

ผา คือ ภูเขาที่มีลักษณะเป็นหินสูงชัน

แบ่น คือ ยิงหรือ ยิงเป้า

ผาแบ่น คือ ผาที่ถูกยิงจนแบ่งครึ่ง

หมู่บ้านผาแบ่นมีประวัติการก่อตั้งหมู่บ้านเมื่อประมาณหลายร้อยปีมาแล้ว คนเฒ่า คนแก่ เล่าขานสืบต่อกันมาหลายหลายชั่วอายุคนว่า แรกเริ่มได้ต้องชื่ออยู่หลายปากห้วยน้ำปิงน้อยชื่อว่า บ้านทุ่งศาลา(คนแก่บางคนว่าชื่อบ้านเก่าเหนือ) ประมาณปี ค.ศ. 2409 มีบ้านเรือนจำนวน 18 หลังคาเรือน มีจำนวนประชากร 44 คน ประชาชนที่มาก่อตั้งหมู่บ้านบ้างส่วนอพยพมากจาก ประเทศลาวตั้งอยู่ได้ประมาณ 8 ปี ก็เกิดโรคฝีดาษ มีประชาชนล้มตาย 4 คน จึงได้พากันอพยพแยกย้ายกันไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บ้านโพนและบ้านนาซ่าว ส่วนประชาชนไทยได้อพยพไป ตั้งถิ่นฐานใหม่บริเวณทางทิศใต้ของห้วยน้ำปิงใหญ่ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านคกค้าย หรือ บ้านท่าสีดา เหตุที่ตั้งชื่อว่าบ้านคกค้ายเพราะได้มีการตั้งค่ายป้องกันข้าศึกฮ้อที่พายเรือตามลำแม่น้ำโขงมาจากนครเวียงจันทร์

บ้านคกค้าย หรือ บ้านท่าสีดา นี้ เป็นบริเวณทุ่งนาของเศรษฐีพ่อนาที่อยู่บ้านนาอุ้ม (ปัจจุบันคือบ้านอุมุง) เป็นที่ดินที่ติดอยู่กับแม่น้ำโขงและมีท่าลงไปแม่น้ำโขงได้ต่อมาได้เกิดโรคระบาด ผู้คนล้มตายจึงอพยพหนีโรคร้ายข้ามห้วยน้ำปิงใหญ่มาตั้งบ้านเรือนใหม่ตั้งชื่อว่าบ้าน บ้านผาแบ่น โดยมีหลวงประหลัด หลวงพ่อผ้าขาว (มาจากนครเวียงจันทร์ปัจจุบันคือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) นายบุสดี และนาย ทิศพูรวม 4 คนเป็นหัวหน้ารวบรวมผู้คนก่อตั้งบ้านเรือนได้ประมาณ 12 หลังคาเรือน อยู่ได้ประมาณ 7 ปี หมู่บ้านเกิดโรคหิวาตกโรค จึงอพยพเข้ามาตั้งอยู่บริเวณข้างวัดศรีลำดวนในปัจจุบัน อยู่ได้ประมาณ 3 ปี จึงตั้งหลวงประหลัดเป็นผู้ใหญ่บ้าน คนแรกของหมู่บ้านตั้งตาปีพ.ศ. 2420 เป็นต้นมา

ภูควายเงินเป็นภูเขาที่สูงและมีความสวยงามพอสมควรเหตุที่เรียกชื่อนี้ ก็เนื่องมาจากตำนานที่นายพรานตามล่าควายป่ามาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงควายป่าตกใจเสียงเรือพ่อค้าจึงได้หลบกหนีนายพราย ขึ้นไปบนภูเขาลูกนี้เรียกว่า ภูควายเงิน ตามชื่อควายเงิน (เพราะควายตัวนี้มีสีเงิน) บนไหล่เขาภูควายเงินนี้มีรอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่ลักษณะของภูควายเงินเป็นภูเขาสูงลาดชันตลอดแนวทุกด้าน ด้านทิศตะวันออก ของภูเขารูปนี้มีรอยพระพุทธบาท ประดิษฐานอยู่ซึ่งอยู่ ตรงกับด้านหน้าถ้ำผาแบ่น ตำนานเล่าว่าพระพุทธเจ้าได้เหยียบรอยเท้าไว้บนหลังถูเขาควายเงินให้ตรงกับปากถ้ำผาแบ่นเพื่อป้องกันไม่ให้นางยักษ์คีนีออกมากินคนอีกต่อไปจนกว่ารอยเท้าจะลบเลือน ซึ่งเป็นเวลา 5 พันปี บ้านผาแบ่นได้แยกหมู่บ้านออกเป็น 3 หมู่บ้านได้แก่ บ้านผาเป็นหมู่ที่ 6 บ้านผาแบ่นหมู่ที่ 8 เมื่อแยก 25 กันยายน 2538 และบ้านผาแบ่นหมู่ที่ 11 แยกจากบ้านผาแบ่นหมู่ที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2548

งานนมัสการรอยพระพุทธบาทภูควายเงินหมู่บ้านผาแบ่นเป็นหมู่บ้านที่ตั้งมาประมาณ หลายร้อยปีมาแล้วสภาพสังคมในชุมชนเป็นแบบชนบท มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันละกันยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม เช่นประเพณีการนับถือผีเจ้าบ้านประจำหมู่บ้านในวันเพ็ญเดือนสามแล้ว (วันมาฆะบูชา) ชาวบ้านจะมารวมกันอีกครั้งในวันแรม 4 ค่ำเดือน 4 เพื่อมาทำพิธีเลี้ยงเจ้าปู่ประจำหมู่บ้านไม่ว่าใครจะอยู่ที่ไหนก็จะต้องเดินทางกลับภูลำเนาโดยทุกๆครั้งครอบครัว จะต้องนำเหล้าไหไก่ตัว1 ขวด เละไก่ต้ม 1 ตัว ) ไปเลี้ยงแต่ถ้าบุคคลใดได้ไปบนศาลเจ้าปู่เอาไว้ก็จะต้องกลับมาแก้บนเป็นปี ถ้าปีไหนเลี้ยงหมูดำหรือควายดำมาเลี้ยงเจ่าปู่สลับกันในแต่ล่ะปีถ้าปีไหนเลี้ยงหมูดำชาวบ้านจะหยุดทำงานเป็นเวลา 3 วันและถ้าปีไหนเลี้ยงควายดำจะหยุดทำงานเป็นเวลา 4 วันการหยุดงาน คือการไม่ทำงานใดๆ ทั้งสิ้นในเขตพื้นที่หมู่บ้านชาวบ้านเรียกว่า คำบ้าน และจะหยุดทำงานในวันพระ (ขึ้น8 ค่ำ ,ขึ้น 15 ค่ำ , แรม 8 ค่ำ , แรม 15 ค่ำ)ตลอดทั้งปียึดถือปฏิบัติเช่นนี้ตั้งแต่โบราณกาลมาจนถึง ปัจจุบัน

และนอกจากนี้แล้วยังมีงานนมัสการ พระพุทธบาทภูควายเงิน ซึ่งจัดตั้งขึ้นในวันเพ็ญ เดือน 3 ของทุกปี เพื่อเป็นการสืบสารประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สืบต่อกันมา ตั้งแต่บรรพบุรุษตลอดจนเป็นความเชื่อถือเรื่องธรรมชาติ ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล คนในชุมชนได้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำไร่ทำนา โดยอาศัยน้ำจากฝนฟ้าที่ตกตามฤดูกาล คนในชุมชนจึงยึดถือปฏิบัติตามฮีดสิบสอง ครองสิบสี่ เป็นบรรทัดฐานแห่งดารดำเนินชีวิตอันมีความเชื่อความศรัทธาตามกลักพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และมีการเทศน์มหาชาติ จำนวนทั้งหมด 13 กัณฑ์ ซึ่งคนส่วนใหญ่ถือว่าถ้าฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะเกิดกุศลและบำบุญคุณงามความดี จะได้อานิสงส์ไปเกิดในภพพระอริยไตรย์ ดั้งนี้

ความเชื่อ ความเชื่อเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชนซึ่งส่งผลให้มีพฤติกรรมต่างๆ สอดคล้องกับความเชื่อนั้นๆ ซึ่งคนในชุมชนค่อยๆเรียนรู้และทำความเข้าใจไปทีละน้อยความเชื่อนั้นมีอำนาจลึกลับทำในคนภายในชุมชนได้รับผลดี- ผลร้ายต่อมาจึงมีพิธีกรรมต่างๆ เพื่อบูชาบวงสรวงเทพเจ้า เพระเชื่อว่าซึ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นต้องมีผู้บรรดาให้มนุษย์ทั้งเทพเจ้าประจำสิ่งนั้น ขึ้นด้วยเหตุดังกล่าวตามความเชื่อความศรัทธาตามหลักพระพุทธศาสนาดั้งนั้นวิถีชีวิตกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ของหมู่บ้านผาแบ่น ตำบลบุฮม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จึงมีความผูกพันกับความเชื่อ ความศรัทธาในงานบุญเดือนสาม หรืองานพระพุทธบาทนมัสการภูควายเงิน ในวันเพ็ญเดือนสามของทุกปีเพื่อเป็นการสืบสารประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สืบต้องกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษตลอดจนเป็นความเชื่อถือเรื่องธรรมชาติ ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล คนในชุมชนได้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำไร่- ทำนา โดยอาศัยน้ำฝนฟ้าที่ตกตามฤดู คนในชุมชนจึงยึดถือปฏิบัติตามฮีดสิบสองครองสิบสี่เป็นบรรทัดฐานแห่งการดำเนินชีวิต อันมีความเชื่อความศรัทธาตามหลักพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ


สถานที่สำคัญในชุมชน

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ รอยพระพุทธบาทภูควายเงิน ดอนปู่ตา หรือดอนหอ วัดศรีลำดวน วัดภูน้อย วัดพระพุทธบาทภูควายเงิน วัดถ้ำผาแบ่น วัดป่าศรีคำ วัดผาท้าย โรงเรียนจำนวน 1 แห่ง สถานีอานามัย จำนวน 1 แห่ง อ่างเก็บน้ำห้วยถ้ำใหญ่ ด่านตำรวจ อส.จำนวน 1 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนจำนวน 1 แห่ง


ประวัติรอยพระพุทธบาทภูควายเงิน

วันหนึ่งมีนายบุตรสีกับนายจารเวิน ได้ชวนกันไปหาอาหารภูควายเงิน และสองคนได้พากันไประหว่างทางก็ได้คุยกันไปแล้วคนหนึ่งก็พูดว่า เนินเขานี้เป็นดงป่าไม้ใหญ่มีแต่เสือ หมี งูใหญ่ แต่ก็ไม่พบสัตว์สักตัว ไม่ว่าจะเป็นกวางและฟาน สองคนก็ได้พากันเดินไปเรื่อยๆ และได้ไปพบรอยเท้าของคนใหญ่บนเนินเขาเหยียบเป็นหินเป็นรอยเท้าได้อย่างชัดแจนเป็นรอยเท้าข้างขวาปลายเท้าเฉียงไปทางทิศตะวันออกส้นเท้าตรงกับผาแบ่น ทั้งสองประหลาดใจยิ่งนักจึงได้พากันวัดขนาดดู ยาว 4 ศอก 1 วากว้าง 1 ศอก มองมองดูแล้วน่าอัศจรรย์ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน เมื่อตะวันใกล้จะตกดิน สองคนก็พากันกลับบ้านและได้ตัดต้นไม้เพื่อทำเป็นสัญลักษณ์ให้จำทางได้ ตัดลงมาจนถึงแม่น้ำปิงใหญ่ และได้เดินไปตามแม่น้ำปิงประมาณ 3 กิโลเมตร ก็ถึงบ้านและได้เล่าให้หลวงประหลัดซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านว่า วันนี้ได้ไปล่าเนื้อในป่าและได้ไปพบรอยเท่าใหญ่บนเนินเขาเหยียบบนเนินหินเป็นรอยเท่าหลุบลง ไปอย่างเห็นได้ชัด ความยาววัดได้ 4 ศอก 1 วากว้าง 1 ศอก และได้ตัดต้นไม้ใหญ่ไว้เป็นสัญลักษณ์ไว้แล้วหลวงประหลัดได้ยินดั้งนั้นจึงได้ประชุมชาวบ้านเพื่อจะได้ขึ้นไปดูว่ามีจริงอย่างที่ทั้งสองเล่าให้ฟังจริงหรือไม่ แล้วหลวงประหลัดก็แจ้งต่อนายตำบลบุฮม ซึ่งมีขุนนารายบุฮมเป็นนายตำบลในครานั้น พร้อมด้วยหลวงพ่ออาจารย์ท่อนและชาวบ้านอีกหลายคนขึ้นไปตรวจดูก็มีอยู่จริงจึงได้ไปแจ้ง ต่อพระอุบปะฮาด นายอำเภอเชียงคาน และพระราชวงศ์กับเจ้าแม่นางทองทัง เพื่อตรวจอยู่ว่าเป็นรอยพระบาท โฆดมจริงหรือไม่ ถ้าใช่ก็เป็นของมิ่งขวัญ ของอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จึงได้สั่งให้ช่วยกันอุปถัมภ์ค้ำชูอย่าให้ถูกแดดเปียกฝนช่วยกันรักษาไว้ให้ดีและให้เคารพสักการบูชา อย่าให้ขาดสักปี (นายทองอินทะศรี , 2515)

บัดนี้ขอย้อนกล่าวถุงพรานป่าชอบอาศัยอยู่ในป่าเอาใบไม้และกิ่งไม้เป็นมุ่งม่านเอาเดือนดาว เป็นประทึบแทนโคมไฟ ส่วนอาหารประทั่งชีวิตมีเนื้อสัตว์ต่างๆ ที่มาหาได้นานๆ จะพบหมู่บ้านสักครั้งหนึ่งจึงจะได้กินข้าวกับชาวบ้าน ในขณะที่กำลังออกล่าสัตว์อยู่นั้น ก็มองเห็นพระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ใต้ต้นไทรพรานป่าไม่รู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้าเพราะเกิดมาไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้าสักทีว่ารูปร่างหน้าตามีลักษณะแบบใดซึ่งบุรุษผู้นี้มีลักษณะเปล่งปลั่งงดงามมากพรานป่าก็เลยคอดว่าบุรุษผู้นี้ต้องเป็นผู้วิเศษเป็นแน่ เราควรเข้าไปถามดูเพื่อให้รู้ต้นสายปลายเหตุ ว่าแล้วก็เดินเข้าไปหาพระพุทธเจ้า ขณะที่นายพรายเดินเข้าไปพระพุทธเจ้ารู้แล้วว่าผู้ขายผู้นี้เป็นพรานป่า เมื่อเข่าใกล้พระพุทธองค์ พระพุทธเจ้าจึงร้องทักว่า ดูก่อนพรานผู้มีใจอันโหดเหี้ยมเอยโยมมาจากไหน กัน พนรานตอบว่าข้าจะเล่าให้ฟังมนุษย์ผู้ที่มีหลายสีเอยเดิมทีบ้านข้าอยู่บ้านอุมุงซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ มีพี่น้องร่วมกันสองคน เป็นชายทั้งสิงคน ส่วนบิดามารดาของข้าได้ตายจากไปตั้งแต่ข้ายังเล็กๆอยู่ พี่ชายของข้าเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู พอข้าเติบใหญ่ยิงธนูเป็นก็ลาพี่ชายเข้าป่าเป็นพนรานป่า ล่าสัตว์ไปไม่รู้จุดมุ่งหมายปลายทาง โดยยึดเอาป่าเขาลำเนาไพรเป็นที่พัก ท่านผู้มีหลายสีเอย แล้วท่านเป็น ใครมาจากไหนกันเล่า พระองค์จึงตอบว่า เรามาจากกรุงสาวัดถี นายพรานถามว่าอยู่ไกลจากที่นี่เท่าไรพระพุทธเจ้าตอบว่า ไกลประมาณพันโยชน์(1 โยชน์เท่ากับ 400 เส้น)ท่านผู้มีหลายสีเดินทางมากกี่วันจึงได้มายอดเขานี้ พระพุทธเจ้าตอบ่า เราเสด็จมาจากกรุงสาวัตถีก็ชั่วพริบตาเดียวก็มาถึง ถ้าอย่างนั้นข้าขอให้ท่านเดินทางไปล่าสัตว์กับข้าด้วย บางทีข้ายิงสัตว์บางตัวก็ไม่ตาย กับที่ท่านจะได้ช่วยไล่จับได้ทัน เพราะท่านวิ่งเร็วและจับสัตว์ได้มากๆ เอาเนื้อไปขายคงร่ำรวยเป็นแน่เพราะฝูงสัตว์ป่าอยู่บนไล่เขานี้มีมากนัก พอได้ยินนายพรานเชิญชวนเท่านั้นพระพุทธองค์ก็ยิ้ม แล้วตอบนานพรานไปว่า เราจะไปเป็นพรานเหมือนท่านไม่ได้คือเราเป็นผู้มีหลายสีนั้นเป็นผู้โปรดสัตว์ เทวดา และหมู่สัตว์ พูดอีกอย่างหนึ่งว่าเรา เป็นศาสดาของเอกโลก หมู่สัตว์ในโลกต้องพึ่งพาอาศัยกันใครๆ ก็รักชีวิตเหมือนกันทั้งนั้นนายพรานอยากฟังธรรมเทศนาไหมเราจะแสดงฟังอยากฟังพระพุทธเจ้าจึงบอกว่าก่อนจะฟังการแสดงธรรมขอให้นายพรานนั่งลงพนมมือทั้งสองไว้ระหว่างอก นายพรายก็ทำตามที่บอกทุกประการอันดับแรก นายพรานนั่งรับศีล ฝึกสมาธิเพื่อให้เกิดปัญญาพราน ป่าก็ตั้งใจฟังกระแสธรรม เทศนาของพระพุทธองค์ในที่สุดดวงตาของนายพรานก็มองเห็นศรัทธาธรรมได้ บรรลุโสดาปฏิผล นายพรานจึงเกิดความเชื่อ และความเลื่อมใสศรัทธา นายพรานจึงๆได้ของอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุพระองค์ขออนุญาตและบวชให้โดยกล่าวคำปฏิญาณว่า ท่านจงเป็นเอหิภิกษุมาเถิดเมื่อนายพรานได้เป็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย รักษาศีล บำเพ็ญตนจนได้บรรลุ

พระอรหันต์พอเมื่อตัวเองได้รู้ธรรมแล้วว่า ความโกรธ ความโลภ ความหลง เป็นมลทินอย่างแรงกล้าจึงคิดถึงญาติพี่น้องของตนเองที่ยังมกมุ่นอยู่ในมลทินอันได้แก่ พี่ชายและหมู่ชาวบ้านเหล่านนั้นพระชีวะทินพรานป่าจึงขอนิมนต์พระองค์ไปเทศนาโปรดญาติโยมที่บ้านข้าที่บ้านอุมุงด้วยพระองค์ตอบว่าดูก่อนพระชีวะทินพรานป่าเอย เราพระองค์และพระสงฆ์สาวกจะได้ทำพิธีสังคายนาอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ พระองค์จะต้องรับกลับไปสังคายนา แต่ถึงอย่างไรกูตามเรา ตถาคตจะขัดนิมนต์ของท่านพระชีวพินพรานป่าก็หาไม่ผูกจบพระองค์ก็เสด็จลงจากยอดเขาเพื่อโปรดสัตว์ได้บิณฑบาตมาถึงหมู่บ้านอุมุงซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ตั้งตามเชิงเขาภูควายเงิน ราษฎรในหมู่บ้านสมัยนั้นไม่รู้จักพระพุทธเจ้าพระองค์ออกเดินทางบิณฑบาตไปไม่มีใครใส่บาตรครั้นบิณฑบาตออกไปพ้นหมู่บ้านถึงทุ่งนาแห่งหนึ่ง จึงพบชาวนาสองผัวเมียกำลังไถนาอยู่ชาวนามองเห็นพระพุทธองค์เจ้าเดินเข้ามา ซึ่งไม่เคยพบเห็นพระพุทธเจ้ามาก่อนสองผัวเมียจึงปรึกษากันว่า คนๆนี้รูปร่างแปลกประหลาดดีคงมาจากถิ่นอื่น ขณะนี้สายมากแล้วคนผู้นี้คงหิวโหยเป็นแน่ เราสองผัวเมียควรจะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้อาหารสักมื้อหนึ่ง ปรึกษากันแล้วก็ถาม ขึ้นว่า ท่านผู้ห่มผ้าดำคล้ำเอย จงมาพักกระท่อมนาหลังน้อยก่อน ฝ่ายเมียก็เข้าครัวทำกับข้าวเสร็จก็จักมาให้รับประทาน พอพระพุทธเจ้าฉันอาหารเสร็จแล้วพระองค์จึงถามสองผัวเมียว่า พระชีวพินพรานป่านั้นเป็นญาติของโยมหรือ ชาวนาผู้เป็นสามีจึงตอบว่าเป็นน้องชายของข้าเองพูดแล้วชาวนาก็น้ำตาไหล คิดถึงน้องชายชาวนาจึงประนมไหว้ท่านผู้ห่มผ้าดำคล้ำแล้วก็พูดว่าน้องชายพระชีวพินเติบใหญ่ยิงธนูเป็นก็หนีเข้าป่าไปไม่รู้ว่าไปแห่งหนตำบลใด ทำอย่างไรข้าจึงจะได้พบน้องชาย ของข้าหรือผู้ห่มผ้าดำคล้ำเคยพบเห็น และข้าขอสั่งไว้ถ้าท่าน ผู้พบเห็นน้องชีวพินที่ไหนก็นำตัวมาพบข้าด้วยพอชาววนาพูดจบพระองค์จึงตอบว่าน้องของโยมชื่อชีวพินพรานเราพระองค์ได้พบเห็นที่บนไหล่เขาดอยจารี ซึ่งขณะนั้นพระชีวพินเป็นพรานป่าพระองค์ได้เทศนา แล้วจึงขอร้องตถาคตให้มาโปรดโยมพี่ชายด้วย พระชีวพิน คงจะกลับลงมาไม่ได้เพราะได้หลุดพ้นจากบวชมารแล้ว ถึงแม้พระองค์จะพูดสักร้อยครั้งก็ตามชาวนาทั้งสองก็หาเชื่อไม่ สองผัวเมียไม่เข้าใจเลยว่าพระองค์แสดงธรรมเทศนาอะไร ก็ไม่รู้เพราะไม่เคยได้ยินได้ฟังคำพูดอย่างนี้ไม่เคยเห็นใครนุ่งผ้าสีดำคล้ำอย่างนี้ โดยชาวนาคิดว่าน้องชายตนได้สิ้นชีวิตเพาะตดเป็นอาหารยักษ์ไปแล้ว เพราะเมื่อถึงวัน 7 ค่ำหรือ 14 ค่ำ 15 ค่ำ มันก็แปลงตนลงมาเป็นสาวสวยๆ มาหลอกเอาชายหนุ่มไปกินอยู่เสมอถ้าไม่เอาชายหนุ่มที่บ้านอุมุงก็ไปเอาชายหนุ่มที่บ้านท่าสีดา (บ้านผาแบ่นในปัจจุบัน) หรือบ้านบุฮเหล่านี้เป็นต้นสองผัวเมียก็ได้คิดหลายแง่หลายมุม โยคิดร้ายต่อพระองค์อีกด้วยว่า ท่าผู้ห่มผ้าดำคล้ำนี้คงเป็นนางยักษ์แปลงตนมาแน่ๆ ซ้ำมันยังรู้จักชีวพินพรานน้องชายของเราด้วย มันคงเอาไปกินเป็นอาหารแล้วพอกินน้องเราไป กินอีก ยิ่งคิดยิ่งสะเทือนใจและหน้ากลัวมากจนตัวสั่น จึงพากกันกัดฟันพูดกับพระองค์อย่างเลื่อนลอย พอพระองค์เบือนหน้าหนีไปทางอื่นสองผัวเมียก็คอยกระซิบกันเป็นความลับ เพื่อจะพากันวิ่งนี้พระองค์เพราะสองผัวเมียคิดว่าพรองค์เป็นยักษ์คีนีที่อาศัยอยู่บ้านผาแบ่น จึงหาทางหลบหนี พอได้ช่องทางแล้วชาวนาผู้เป็นสามีก็ออกอุบายว่า ควายกินกล้าที่ปลายนาจะไปไล่ก่อนแล้ววิ่งออกไปทางปลายนา ครั้นชาวนาผู้เป็นสามีวิ่งไป นานไม่กลับมา ฝ่ายเมียก็ออกอุบายว่า สามีนานมาเช่นนี้หน้ากลัวจะถูกควายขวิดจึงออกไปติดตามดูแล้วก็วิ่งเข้าไปป่าหายเงียบปล่อยให้พระเจ้านั่งอยู่กระท่อมนาคนเดียวสองผัวเมียเมื่อพบกันแล้วก็วิ่งออกไปข้างหน้า อย่างเต็มที่เพื่อให้พ้นจากพระพุทธเจ้าที่เข้าใจว่าเป็นยักษ์แปลง แต่ด้วยเดชบาระมีของประองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งใจจะมาโปรดชาวนาสองผัวเมียตามคำนิมนต์ของพระชีวพินอยู่แล้ว เมื่อออพระองค์ได้เวลาโปรดแล้วจึงย่อแผ่นดินเดินเข้ามาหาพระองค์ใกล้ที่สุด เพราะสองผัวเมียวิ่งหนีนั้นก็ใช้เวลานานแล้ว เราผู้เป็นศาสดาซึ่งเป็นครูของโลก เราจะต้องโปรดสองผัวเมียนี้จนได้ซักไซ้ไต่ถามดูว้าทำไมจึงวิ่งหนีจากเรา ส่วนสองผัวเมียพ่อนานั้นก็คิดว่าพ้นอันตรายแล้วจึงแล้วถึงค่อยๆ เดินแต่พอหันหลังกลับไปดูก็เห็นพระพุทธองค์อยู่ใกล้ๆถึงแม้จะวิ่งจากพระองค์เท่าไรก็หาจะไกลจากพระองค์แม้แต่วาเดียวไม่สองผัวเมียก็หมดหนทางที่จะเอาตัวรอดเพราะอ่อนเพลียมากแล้ว สองผัวเมียก็ยอมเป็นอาหารของยักษ์คีนี

ส่วนสมเด็จพระศาสดา เห็นสองผัวเมียพ่อนาเมื่อยและหิวกระหายมาก ท่านก็คิดสงสารแต้ตัวพระองค์ก็เล็งด้วยฌานว่า เมื่อไม่ ทรมานสองผัวเมียพ่อนานี้ก็คงไม่เลื่อมใสในพระธรรมเทศนาเป็นแน่ เพราะสองผัวเมียมีจิตใจเข็มแข็งไม่เชื่อง่าย เละไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้ามาก่อน หลังจากทรมานสองผัวเมียแล้วพระองค์บอกสองผัวเมียพ่อนาว่าตั้งใจไว้ให้ดรเถิดเราจะแสดงอภิหารแล้วพระองค์จึงเปล่งรัศมีออกมาเป็นสีหลายสี เช่น สีแดง , สีเขียว , สีขาว , สีน้ำเงิน ข้นสลับซับซ้อนตระการตาน่าดูยิ่งนัก ต่อจากนั้นพระองค์ได้ เปิดหู เปิดตา ได้ยินเสียงต่าง ๆ มีทั้งเสียงที่ไพเราะและเสียงที่หน้ากลัวทั้งสี่ทิศ ได้เห็นเมืองนรก เมืองสวรรค์ สองผัวเมียเมื่อได้ดูด้วยตาได้ฟังด้วยหูของตัวเอง แล้วก็พากันพูดว่า ท่านผู้นี้คงไม่ใช่นางยักษ์คินีแน่ชาวนาทั้งสองจึงกราบเรียนกับพระองค์ขอให้พระองค์ท่านได้แสดงธรรมเทศนา ให้ข้าทั้งสองฟังด้วยเถิดพระองค์พูดว่าก็ได้ให้ท่านทั้งสิงได้ประนมมือขึ้นกราบลงพื้นสามครั้ง แล้วรับสมาทานศีลห้า ก่อนจากนั้นพระพุทธเจ้า ก็แสดงธรรมเทศนาดังต่อไปนี้อันมนุษย์เราที่เกิดมานี้ ถ้าหากท่านเป็นบุคคลที่ไร้ศีลธรรม ไม่มีความเมตตาปราณีต่อเพื่อนมนุษย์สัตว์มนุษย์พวกนี้เมื่อตายไปก็จะตกนรกหลุมต่างๆให้ฟังดั้งนี้หลุมหม้อกระทะทองแดงซึ่งมีความหมายร้อนแรงมากที่สุดสำหรับนักโทษที่ลักขโมย ฉ้อโกงหลุมหม้อกระทะใหญ่สำหรับนักโทษพวกมนุษย์ ที่ชอบเล่นชู้ลูกเมียของคนอื่นความรักทรมานของนรกหลุมนี้ เมื่อตายไปก็จะมีนายนิรบาลคอยควบคุมดูแล เมื่อออกจากหม้อนรกก็ต้องปีนต้นงิ้ว ซึ่งมีหนามยาวสามองคุลีหนามก็ปักแทงตามเนื้อหนังมีเลือดไหลโทรมกาย ถ้าไม่ปีนขึ้นไปนิรบาลก็จะเอาหอกแทงนรกหลุมทำโทษพวกมนุษย์พูดปดพูดส่อเสียดผู้อื่นใส่ร้ายคนอื่นพวกนี้เมื่อตกนรกก็จะมีลักษณะปาก ใหญ่กว่าตาปากเล็กเท่ารูเข็ม ถูกจับกรองปากด้วยน้ำทองแดงร้อนนรกหลุมสุดท้ายนี้เป็นหลุมที่เอาไว้ทำโทษพวกที่ชอบดื่มน้ำเมา ชอบร้องเพลงเสียงดังรบกวนชาวบ้านข้างเคียงวัดวาอาราม พวกนี้เมื่อตายไปแล้วจะตกหม้อนรก ออกจากหม้อนรกปีน ขึ้นต้นงิ้วหนาม ถ้าไม่ปีนขึ้นไปนายบริบาลก็เอาหอกแทง อยู่บนต้นไม้ก็มีอีสปเหล็กคอยจิกสับหัว ตกลงมาหมาไล่กันวนเวียนอยู่อย่างนี้จนกว่าจะใช่หนี้กรรมหมด นี่แหล่ะท่านโยมทั้งสองที่เราได้กล่าวให้ฟังนี้ จึงขอให้ท่านมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายขอให้กกกระทำแต่วามดี รักษาศีลห้าที่ราให้ไว้จงทำบุญให้ทานสิ่งของอันที่จะทำให้พวกท่านมีความสุข เมื่อตายไปจะได้ขึ้นสวรรค์ บัดนี้จะเล่าเรื่องเมืองสวรรค์ ให้ท่านได้ฟัง ดังนี้ เมืองสวรรค์เป็นเมืองที่สะอาดเรียบร้อยและมีความสวยงามตระการตาผู้คนในเมืองแต่งการสุภาพเรียบร้อย พูดจาไพเราะยิ้มแย้มแจ่มใส มีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ดังที่โยมทั้งสองได้ให้ทานอาหารให้แก่เราวันนี้ ท่านก็จะได้ผลบุญผลทานที่เมืองสวรรค์ สองผัวเมียเมื่อได้การแสดงธรรมก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระธรรมเทศนา ในที่สุดสองผัวเมียก็บรรลุโสดาปฏิผล รู้จักต้นสายปลายเหตุมีดวงตาธรรมจึงเชื่อว่า พระพุทธเจ้ามีจริง พระพุทธองค์จึงถามสองผัวเมียว่ารู้แล้วหรือว่าเราเป็นใคร สองผัวเมียก็ตอบว่ารู้แล้ว ข้าทั้งสองนับแต่นี้เป็นต้นไปข้าขอปฏิญานตนเข้ามาเป็นพุทธมามกะตลอดไปจนกว่าจะดับขันธ์จากพระองค์ไป แล้วที่โยมทั้งสองวิ่งหนีเราไปนั้นเพราะเหตุใด ชาวนาสองผัวเมียตอบว่า ท้องถิ่นหมู่บ้านนี้มีนางยักษ์คินี(แม่หม้าย) แปลงตัวมาขโมยจับคนในหมู่บ้านไปกินอยู่เสมอ ดังนั้นข้าและเมียเข้าใจว่านางยักษ์ คินีแปลงตัวมาหลอกพวกข้าจึงวิ่งหนีพระองค์พระพุทธเจ้าถามว่า นางยักษ์คินี อยู่ที่ไหนชาวนาสองผัวเมียบอกว่ามันอาศัยอยู่ในถ้ำบ้านผาแบ่น เมื่อถึงแปดค่ำ มันก็แปลงตัวเป็นสาวสวยๆ เพื่อมาหลอกให้ชายหนุ่มหลงรัก มันหลอกหลวงไปครั้งล่ะ 7-8 คน พอไปถึงถ้ำที่อยู่อาศัยจึงให้ชายหนุ่มเล่านั้นบำเรอกามสวาทให้มันทั้งกลางวันและกลางคืน ต่อเมื่อชายหนุ่มอ่อนเพลียหมดกำลังแล้วมันจับฉีกกินเนื้อกินเป็นอาหาร บางคนก็หนีรอดออกมาได้ เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทราบเรื่องแล้วพระองค์ว่ายักษ์ตนนี้ร้ายกาจมาก ถ้าไม่อบรบสั่งสอนสอนแล้วคงจะถูกนางยักษ์จับกินหมด

กล่าวถึงเทวดา นางไม้ซึ่งอาศัยอยู่ตามต้นไม้และภูเขาครั้งได้ฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าก็เกิดเลื่อมใสศรัทธา พอใกล้จะถึงวันเจ็ดค่ำแปดค่ำแล้ว นางยักษ์จะออกมาจับมนุษย์ไปกิน พระพุทธเจ้าจึงให้เทวดานางไท้ไปชักชวนในหมู่บ้านใกล้นี้ ชาวบ้านอุมุง ชาวบ้านผาแบ่น ชาวบ้านบุฮม บ้านสีดามาร่วมกัน ไว้ที่ทุ้งนาของสองผัวเมียเชิงภูควายเงิน และให้ทุกคนจัดดอกไม้ธูปเทียน เราผู้เป็นเทวดาจะนำพวกท่าน ไปคารวะครูของเราคือพระพุทธเจ้าพระองค์ได้โปรดเสด็จมาโปรดพวกเราแล้ว พอเดินทางมาถึงพระองค์ก็ชวนชาวบ้านทุกคนสมาทานศีลห้า และเทศนาให้ชาวบ้านฟัง ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใสในรสพระธรรมวินัยเป็นอย่างดี ฝ่ายนางยักษ์คินี พอถึงวันปดค่ำมันก็ออกหาอาหารไปที่หมู่บ้านบุฮม บ้านผาแบ่น บ้านอุมุง นางยักษ์คินีไม่พบขาวบ้านแม้แต่คนเดียว เห็นแต่บ้านร้างนางยักษ์คินีรู้สึกแปลกใจ วันนี้อาหารยังไม่ตกถึงท้องเลย นางยักษ์โมโหโกรธมาร้องประกาศว่าวันนี้จะพบผู้ใดก็ตามหนุ่มหรือจะแก่เราจะจับกินให้หมด พระพุทธเจ้าท่านรู้ด้วย ญาณวิเศษว่านางยักษ์จะมาที่นี้ พระองค์จึงเตือนพวกชาวบ้านว่าถ้านางยักษ์มาหาให้อยู่อย่างสงบอย่าได้ตื่นตกใจ เราจะทรมานนางยักษ์คินีให้ยอมจำนนเสียก่อน ขณะที่นางยักษ์เดินเข้ามาหาพระพุทธเจ้า แต่นางยักษ์ก็เข้าใกล้พระพุทธเจ้าไม่ได้เพราะแพ้แสงรัศมีของพระองค์เกิดอาการอ่อนเพลียกระดุกกระดิกไม่ได้ เลยนั่งทรุดลงอยู่กับที่ ส่งเสียงร้องดิ้นรนอยู่กับพื้นดิน นางยักษ์ได้สติจึงอ่านคาถาเวทย์มนต์ก็แก้ไม่ได้ เมื่อพระองค์ได้ทรมานนางยักษ์ พอสมควรแล้ว พระองค์ก็พูดกับนางยักษ์ว่า ดูก่อนนางยักษ์อันที่เธอต้องดิ้นรนอยู่บนพื้นดินนั้นเธอเป็นอะไรหรือนางยักษ์ตอบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าเป็นนางยักษ์แม่หม้าย จะมาจับมนุษย์ที่นั่งอยู่กลุ่มนี้มาเป็นอาหาร แต่ตัวข้าเข้าไปถูกแสง รัศมีของท่านจึงได้หมดกำลัง อ่อนเพลียไปหมดทั้งตัว ทั้งตัว แทบเอาชีวิตไม่รอด ขอให้พระองค์เมตตากรุณาฉัน บ้างเถิดพระองค์จึงบอกว่า เจ้าจงลุกขึ้นเถิดข้าจะแสดงธรรมเทศนาให้ฟังนางยักษ์ก็หายอ่อนเพลียลุกขึ้นนั่งได้ อากาศเจ็บปวดต่างๆ ก็หายไปนางยักษ์จึงหมอบคลานเข้าไปหาพระองค์ พระองค์จึงให้นางยักษ์ประนมมือรับศีลห้าและฟังการแสดงธรรมเทศนาให้นางยักษ์ฟัง นางยักษ์ดวงตาสว่าง เห็นพระเกิดความเลื่อมใส ศรัทธามีความปิติยินดีเป็นล้นพ้น จึงของปฏิญาณ ตนเป็นทายิกา อีกคนหนึ่งพระองค์จึงถามนางยักษ์อีกว่าข้ารู้แล้วข้าของบวชนางชี พระองค์อนุญาตละบวชให้ บัญญัติรักษาศีลแปด ตั้งแต่นั้นมานางยักษ์ได้บวชเป็นนางชี พระองค์เห็นว่านางยักษ์คินีนี้ชอบเครื่องเขียวพระองค์จึงตั้งชื่อใหม่ว่า นางเขียวค้อม

พระองค์ได้โปรดนางยักษ์เสร็จแล้ว พวกชาวบ้านก็มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งเพราะต่อไปนี้หมู่บ้านแถบนี้จะได้มีความสุขสนุกสนานมาหวาดระแหวงเหมือนดั้งแต่ก่อนเมื่อพระองค์ได้โปรดสัตว์และมนุษย์พวกนี้หมดแล้วบัดนี้ถึงเวลาที่เราจะกลับไปกรุงสาวัตถีแล้ว พ่อนาสองผัวเมียและชาวบ้านนางยักษ์คินี (นางเขียวค้อม)ได้พากันขอร้องพระองค์ท่านไว้ขอให้พระองค์ท่านทำสัญลักษณ์สิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้เพื่อเป็นที่สักการบูชาของพวกข้าเถิด พอพระองค์ทราบว่าสิ่งที่เป็นประโยชน์นั้นก็คือเราตถาคตจะประทับรอยพระพุทธบาทไว้ให้เพื่อแทนตัวเรา เมื่อเราได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้แล้วขอให้ท่านพุทธสานุชนทั้งหลาย ได้บอกกล่าวต่อกันไปว่า ผู้ใดศรัทธาได้สร้างพระธาตุเจดีย์ก่อครอบรอยเราจะได้บุญ คนผู้นั้นตายไปจะได้เกิดบนสวรรค์มีวิมานทองเป็นที่อยู่และมีนางฟ้าเป็นบริวารหรือบุคคลใดมีศรัทธาเอาแผ่นทองปิดประทับรอยพระองค์พระตถาคตให้สวยงามบุคคลนั้นเมื่อตาบไปจะได้ไปเกิดบนสวรรค์ บุคคลผู้นั้นจะมีผิวพรรณเปล่งปลั่งเหมือนดวงพระจันทร์และเป็นผู้มีสง่าราศีใครเห็นใครก็รักใครเห็นใครก็ชอบ บุคคลใดได้ชักชวนญาติพี่น้อง มานัสการกราบไหว้พระพุทธบาท บุคคลนั้นเมื่อกลายไปจะเกิดบนสวรรค์ จะได้มีความสุขกายสุขใจจะไปไหนมาไหนพอแต่นึกถึงจุดหมายและนึกอยากได้อะไรก็ได้ตามที่มุ่งมาดปรารถนาและบุคคลใดได้นำข้าวน้ำโภชนาการมาถวายทาน (ตั้งโรงทาน) ในงานบุญพระพุทธบาท นี้ผู้นั้นได้ตายไปจะได้เกิดบนสวรรค์ สามารถตั้งต้านทานศัตรูหมู่มาร ไปทั่วสารทิศเมื่อพระองค์ได้กล่าวเสร็จแล้วก็เสด็จไปยังไล่ภูเขาควายเงินหาพื้นที่อันสมควร แล้วพระองค์ก็ประทับรอยพระบาท ไว้บนหินก้อนใหญ่นั้น เสร็จแล้วพระองค์ก็เสด็จลงมาบอกคำกราบไหว้รอยพระพุทธบาทแก่ญาติโยมชาวบ้านทั้งหลาย

ก่อนพระพุทธเจ้าจะจากพวกญาติโยมไปเมืองสาวัตถีพระพุทธเจ้าจึงได้สาปนางยักษ์คินี(นางเขียวค้อม) ให้อยู่ในถ้ำผาแบ่นไปจนกว่ารอยพระพุทธบาทจะลบเลือนและจนกว่าจะสิ้นอายุพระศาสดามีกำหนดห้าพันปี เพราะพระองค์ไม่เชื่อใจนางยักษ์กลัวว่าจะออกมาจับกินชาวบ้านเป็นอาหารอีก แล้วพระองค์ก็อำลาญาติโยมเหล่าเทพดาที่มาเฝ้ากลับกรุงสาวัตถีส่วนชาวนาสองผัวเมีย เมื่อพระพุทธเจ้าเสร็จกลับแล้วรุ่งขึ้นตอนเช้าแล้วมองอกไป ยังทุ่งนาก็เห็นก้อนขี้ไถเหลืองอร่ามเต็มท้องนาจึงเดินเข้าไปจับดู ปรากฏว่าก้อนขี้ไถกลายเป็นทองคำไปหมด ชาวนาสองผัวเมียดีใจมากจึงได้ขนเอาไปไว้ที่บ้านเหตุที่ชาวนาทั้งสองได้ให้ทานข้าวปลาอาหารแก่พระพุทธเจ้าเป็นคนแรกได้ฟังธรรมเทศนาเป็นคนแรก ผลบุญกุศลเหล่านั้นเลยติดตามสนองให้แก่ชาวนาสองผัวเมียได้เป็นเศรษฐี และชาวบ้านที่ทำบุญในวัดนั้น ก็จะเหมือนกันกับชาวนาสองผัวเมียนี้ แต่ล่ะขวบปีจนถึงวันเพ็ญเดือนสามชาวนาสองผัวเมียเชิญชาวบ้านทำบุญไว้พระพุทธบาทมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนชาวนาสองผัวเมียชาวบ้านตั้งชื่อใหม่ให้นามว่า ท่าเศรษฐีพ่อนาอุ้ม วัดพระพุทธบาทควายเงินตั้งอยู่ที่ บ้านผาแบ่น หมู่ที่ 6 ตำบลบุฮม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลยตามเส้นทางสายเชียงคาน- ปากขม ระยะทาง 6 กิโลเมตรถึงหมู่บ้านผาแบ่น มีทางแยกบ้านอุมุง 3 กิโลเมตรถึงทางขึ้นเขา เป็นถนนคอตกรีตระยะทาง 1 กิโลเมตรเป็นวัดที่ตั้งอยู่ภูเขาสูง รอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่บนหินลับพร้า ( หินลับมีด) ได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถาน เมื่อพ.ศ. 2478 ( สำนักงานจังหวัดเลย 2549)ในวันเพ็ญเดือน 3 หรือเดือน 4 ของทุกปีจะมีนมัสการรอยพระพุทธบาทเป็นประจำทุกปี

ตามเรื่องราวที่เล่ามานี้ ผู้เขียนได้ยินคนเฒ่าคนแก่เล่าสู่กันฟัง จริงเท็จอย่างไรไม่ขอยืนยันถ้าท่านผู้รู้ได้อ่านเห็นว่าบ้างตอนขาดตกบกพร่องประการใดผู้เขียนต้องของอภัยด้วย ภูควายเงิน ภูควายเงินเป็นภูเขาที่สูงและมีความสวยงามพอสมควรเหตุที่เรียดชื่อนี้ ก็เนื่องมาจากตำนานที่ นายพรานตามล่าควายป่าตกใจเสียงเรือพ่อค้าจึงได้หลบหนีนายพรานขึ้นไปบนภูเขาลูกนี้ว่าภูควายเงินตามชื่อควายเงิน (เพราะควายตัวนี้มีสีน้ำเงิน บนไหล่เขาภูควายเงินนี้มีรอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่ ลักษณะของภูควายเงินเป็นภูเขาลาดชันตลอดแนวทุกด้านทางทิศตะวันออกของภูเขาลูกนี้มีรอยพระพุทะบาทประดิษฐานอยู่ซึ่งอยู่กับด้านหน้าถ้ำผาแบ่นตำนานเล่าว่า พระพุทธเจ้าได้เหยียบรอยเท้าไว้บนไหล่เขาภูควายเงินให้ตรงกับปากถ้ำผาแบ่นเพื่อป้องกันไม่ให้นางยักษ์คินี ออกมากินคนอีกต่อไป จนกว่ารอยเท้าจะลบเลือน ซึ่งเป๋นเวลาหลายพันปี



ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอเชียงคาน โดย กศน.อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย พ.ศ.2553

สิ่งอำนวยความสะดวก