บ้านแสนสำราญ

ไม่ระบุเวลา

แผนที่การเดินทาง

ติดต่อสอบถาม

ที่อยู่:
-ไม่ระบุ-
โทร:
-ไม่ระบุ-
อีเมล:
-ไม่ระบุ-
เว็บไซต์:
-ไม่ระบุ-
เฟซบุ๊ก:
-ไม่ระบุ-
ไลน์ไอดี:
-ไม่ระบุ-
สำราญหมายวามว่า สบายกายใจ เบาใจ เย็นใจ บ้านแสนสาราญจึงมีความหมายว่า เป็นบ้านผู้อยู่อาศัยสบายกายใจเป็นอย่างยิ่ง

ประวัติและความเป็นมาของหมู่บ้าน
หมู่บ้านแสนสำราญนี้มีความหมายตรงตัวคือ หมายถึง หมู่บ้านที่มีความผาสุกทุกด้านไม่ว่าจะประกอบกิจการใดๆ ก็สะดวกสบายไปหมดทุก้าน( แสนหมายความว่า มากยิ่งเหลือเกิน สำราญหมายวามว่า สบายกายใจ เบาใจ เย็นใจ บ้านแสนสาราญจึงมีความหมายว่า เป็นบ้านผู้อยู่อาศัยสบายกายใจเป็นอย่างยิ่ง
บ้านแสนสำราญหมู่ที่ 4 ได้แยกการปกครองออกจากบ้านนาสีเมื่อปีพ.ศ. 2505 ซึ่งมีนายบุญนาค อาวาส เป็นผู้มาอยู่เป็นนานแรกหลังจากนั้นก็มีนายเสรี พิณโยศักดิ์ มาอยู่คนที่สอง คนที่สามนายบุญชู แก้ววงษา คนที่สี่ นายโพธิ์ ซึ่งเป็นหมอได้มาอาศัยกับนายมุขอาวาส ลูกชายของนายนาค อาวาส จากนั้นก็เริ่มมีคนจากต่างจังหวัดอพยพเข้ามาอยู่เป็นครอบครัว ไม่ว่าจะมาจาก จ.ขอนแก่น จ.น่าน จ. ชัยภูมิ แต่ส่วนใหญ่อพยพมาจากจังหวัดชัยภูมากกว่า ซึ่งแต่ก่อนที่ตรงนี้ เป็น บริเวรที่ทำบ้านจัดสรรให้แก่ราษฎรที่ไม่มีที่อยู่อาศัยและไม่มีที่ทำกิน สมัยนั้นมีนายสมัน พิมวัน เป็นผู้นำชุมชน ซึ่งแต่ก่อนนั้นยังไม่มีผู้ใหญ่บ้าน ต่อมาก็ได้มีการแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้นได้คือนายบุญนาค อาวาส โดยมีนาอำเภอเป็นผู้แต่งตั้งให้เมื่อหมดวาระก็มีคนที่ 2 คือนายบุญชู สอนพรม คนที่ 3 คือนายแสงดาว พลชำนาญ ดำรงตำแหน่ง ปี พ.ศ. 2523 คนที่ 4 คือนายเจริญ กองพอด คนที่ 5 คือนายยงยุทธ วงศ์ลา คนที่ 6 คือนายแสงดาว พลชำนาญ กลับมารำรงตำแหน่งอีกครั้งหนึ่งคนที่ 7 คือนางดลวดี ประทุม จากนั้นก็เป็นนายทวี แก้ววงษา คนปัจจุบัน
เหตุที่ตั้งชื่อบ้านแสนสำราญ ก็เพราะว่านายบุญนาค อาวาส ต้องการให้ผู้คนในหมู่บ้าน มีแต่ความสุขความสบายเหมือนชื่อจึงได้ตั้งชื่อว่า บ้านแสนสำราญ มาจนถึงปัจจุบัน
สถานที่สำคัญในชุมชน
วัดป่าศรีวิไลวัลย์ การสร้างวัดประจำหมู่บ้านสมัยนั้นครั้งแรกได้ให้บริเวณพื้นที่กลางหมู่บ้านเป็นวัด แต่พอประมาณ ปี พ.ศ. 2520 ชาวบ้านได้ร่วมใจกันสร้างวัดใหม่โดยมีนายบุญนาค อาวาส เป็นผู้นำสร้างวัดชื่อว่า วัดป่าศรีวิไลวัลย์โดยย้ายไปสร้างใกล้กับรียงเรียนบ้านแสนสำราญมีเจ้าอาวาสรูปแรกชื่อ หลวงตาชาลี พินโยศักดิ์ และเมื่อท่านมรระภาพลง ก็ได้มีพระอาจารย์ไพบูรณ์ มาอยู่เป็นเจ้าอาวาส รูปปัจจุบันมี เนื้อที่วัดประมาณ 36 ไร่
ศาลเจ้าบ้าน การเลี้ยงศาลเจ้าบ้านหรือศาลเจ้าปู่ต้นไทรทองของชาวบ้านนั้นจะเลี้ยงร่วมกัน 2 บ้าน คือบ้าน แสนสำราย และบ้านพรมมานุสรณ์ ตำบลธาตุซึ่งเป็นวัฒนธรรมเชื่อมหมู่บ้านระหว่างสองหมู่บ้านด้วยกัน มีการเลี้ยงบ้านร่วมกันทุกปีจะทำในช่วงปลายเดือน ม.ค. เม.ย .ละ พ.ค. ส่วนใหญ่จะเลี้ยงด้วยหมูหรือไก่ขึ้นอยู่กับคนทรงเจ้าและเศรษฐกิจ ถ้าหาดเศรษฐกิจไม่ดีก็จะเก็บเงินจากชาวบ้านเข้าวัดเท่านั้นมีส่วนร่วมนำการทำบุญด้วย
ศาลหลักบ้าน (เป็นศาลที่ชาวบ้านให้ความเคารพเช่นเดียวกับศาลหลักเมือง)
โรงเรียนบ้านแสนสำราญ สร้างประมาณปี พ.ศ. 2511 มีผู้อำนวยการคนแรกชื่อนายเฉลิมชัย สืบสาย เป็นคนที่มาอยู่เป็นคนแรก สมัยนั้นมีนักเรียนเพียง 60 คน เท่านั้น เมื่อท่านหมดวาระลงก็ได้ท่านสมฤทธิ์จากนั้นก็ได้มีนายกองมี แสนใจวุฒิเป็นตนที่สาม และมาถึงนายสมจิต สิงห์สุวรรณ คนปัจจุบันสมัยก่อนจะไปเรียนหนังสือกันที่วัด ไม่มีดรงเรียนเหมือนสมัยปัจจุบัน
แหล่งเรียนรู้ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่รวมกลุ่มกันปั้นโอ่งใส่น้ำฝน เพื่อจำหน่ายในชุมชนจากจุด เล็กๆ ตอนนี้ได้ขยายกิจการ จากอุตสาหกรรม ในครัวเรือนสามารถขยายกิจการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งอยู่ที่บ้านแสนสำราญ หมู่ที่ 4 สามารถเดินทางไปเรียนรู้ได้ตลอดเวลา


ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอเชียงคาน โดย กศน.อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย พ.ศ.2553

สิ่งอำนวยความสะดวก