บ้านแก่งปลาปก หมู่ 5

ไม่ระบุเวลา

แผนที่การเดินทาง

ติดต่อสอบถาม

ที่อยู่:
ต.ชมเจริญ อ.ปากชม เลย
โทร:
-ไม่ระบุ-
อีเมล:
-ไม่ระบุ-
เว็บไซต์:
-ไม่ระบุ-
เฟซบุ๊ก:
-ไม่ระบุ-
ไลน์ไอดี:
-ไม่ระบุ-
แต่ก่อนนั้นเป็นบ้านวังกุ่ม บ้านเรือนชาวบ้านจะติดริมห้วยหรือวังตามลำห้วย และต่อมาได้ติดโรคระบาดขึ้น จึงพากันอพยพย้ายเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่ปัจจุบันคือ บ้านแก่งปลาปก

บ้านแก่งปลาปก

หมู่ 5 ตำบลชมเจริญ อำเภอปากชม จังหวัดเลย


ความหมายของชื่อหมู่บ้าน

แก่ง หมายถึง พืดหิน หรือโขดหินที่กีดขวางทางน้ำ

ปลาปก หมายถึง เป็นปลาชนิดหนึ่งซึ่งรูปร่างป้อมๆ คล้ายปลาตะเพียน มีเกล็ด


ประวัติหมู่บ้าน

บ้านแก่งปลาปก หมู่ที่ 5 ตำบลชมเจริญ อำเภอปากชม แต่ก่อนนั้นเป็นบ้านวังกุ่ม บ้านเรือนชาวบ้านจะติดริมห้วยหรือวังตามลำห้วย และต่อมาได้ติดโรคระบาดขึ้น จึงพากันอพยพย้ายเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่ปัจจุบันคือ บ้านแก่งปลาปก ผู้ที่มาตั้ง คือ นายจูม ส้านสิงห์ และต่อมาได้มีครัวเรือนเพิ่มขึ้นจึงขยายเขตหมู่บ้านออกมาเป็น หมู่ 5 อีกหนึ่งบ้าน เมื่อ พ.ศ.2506 บ้านแก่งปลาปก เดิมชื่อว่า“บ้านก้างปลาปก” ต่อมาคนรุ่นหลังเรียกชื่อกันเพี้ยนไปและกลายมาเป็น “บ้านแก่งปลาปก” จนมาถึงปัจจุบันนี้ประวัติที่เล่าต่อกันมาว่า ครั้งแรกที่สุดชื่อว่าบ้านก้างปลาปก ต่อมาเสียงได้เพี้ยนมาเป็น แก้งปลาปก และในเวลาต่อมาอีกเสียงได้เพี้ยนมาเป็น แก่งปลาปก ตามคำบอกเล่าต่อกันมาว่า มีพรานป่าจำพวกหนึ่งออกหาล่าเนื้อล่าสัตว์มาตามป่าตามเขา พอมาถึงห้วยแห่งหนึ่ง (ห้วยน้ำชมที่ไหลผ่านหมู่บ้านปัจจุบัน) พวกพรานก็ลงไปหาน้ำกินกัน และไปพบซากของปลาตายอยู่ที่หาดทราย คนพวกนี้สันนิษฐานว่าเป็นก้างปลาของปลาปก (ปลาตะเพียน) ซึ่งปลาตัวนี้มีก้างใหญ่ประมาณเท่าเส้นหญ้าคา (เท่ากับตะปูนิ้ว)ซึ่งในเวลาต่อมาพรานพวกนี้เห็นว่าที่บริเวณนี้เป็นทำเลเหมาะแก่การทำมาหากิน จึงพากันมาตั้งบ้านเรือนอยู่แถบบริเวณดังกล่าวนี้ และตั้งชื่อบ้านว่า บ้านแก่งปลาปก ต่อมาเสียงจึงได้เพี้ยนมาเรื่อยๆ ตามที่กล่าวแล้วข้างต้น


ลักษณะที่ตั้งของหมู่บ้าน

บ้านแก่งปลาปก หมู่ที่ 5 ตำบลชมเจริญ ตั้งอยู่ที่ทางทิศใต้ของอำเภอปากชม ห่างจากอำเภอปากชมประมาณ 23 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดเลย ประมาณ 62 กิโลเมตร ตามถนนสายบ้านธาตุ – ปากชม พื้นที่ของหมู่บ้านทั้งหมด ประมาณ 13,000 ไร่ จำนวนหลังคาเรือน ทั้งหมด 196 หลังคาเรือน ประชากร 896 คน แยกเป็น ชาย 445 คน หญิง 451 คน


อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ ติดกับบ้านแก่งปลาปก หมู่ที่ 4 ตำบลชมเจริญ อำเภอปากชม

ทิศใต้ ติดกับ บ้านห้วยอาลัย หมู่ที่ 3 ตำบลชมเจริญ อำเภอปากชม

ทิศตะวันออก ติดกับบ้านเชียงกลม หมู่ที่ 2 ตำบลเชียงกลม อำเภอปากชม

ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอเชียงคาน ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน


ลักษณะภูมิประเทศ

เป็นพื้นที่ราบภูเขา และลาดชันตามไหล่เขาประมาณ 70% ของพื้นที่


การใช้ประโยชน์ของพื้นที่

- ที่อาศัย ประมาณ 950 ไร่

- ที่ทำการเกษตร ประมาณ 6,500 ไร่

- ที่สาธารณะหมู่บ้าน ประมาณ 5,550 ไร่


ผู้นำชุมชน

1. นายวัต ไชยแสง (อดีตผู้ใหญ่บ้าน)

2. นายเสมอ ระนาด (อดีตผู้ใหญ่บ้าน)

3. นายสง่า ส้านสิงห์ (อดีตผู้ใหญ่บ้าน)

4. นายชำนาญ ผาลี (อดีตผู้ใหญ่บ้าน)

5. นายทองมา ส้านสิงห์ ปัจจุบัน(กำนันตำบลชมเจริญ)


ประเพณี / วัฒนธรรม

มีบุญประจำปี ตามเทศกาลของชาวอีสาน หรือ ฮีตสิบสอง ครองสิบสี่


แหล่งเรียนรู้

วัดถ้ำแสงธรรมมาวาส (ถ้ำห้วยเหล่า) ความหมายของชื่อและประวัติ ตามประวัติเล่าต่อกันมาว่า ถ้ำนี้เป็นถ้ำเก่าของฤษี เพราะลักษณะของถ้ำนี้จะมีเป็นถ้ำลึกเข้าไปในใจกลางของภูเขาประมาณ 4 – 5 วาเศษ ซึ่งปากทางเข้าเป็นซุ้มประตู หรือชาวบ้านเรียกกันว่าประตูโขง ส่วนภายในนั้นพื้นเป็นที่ราบคล้ายๆ กับราดด้วยปูนซีเมนต์ นอกจากนี้ภายในถ้ำยังมีโต๊ะ เตียงนอน เก้าอี้ และที่พักผ่อนของฤษี ซึ่งสิ่งดังกล่าวนี้ล้วนแต่เป็นหินลักษณะสวยงามมากอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 4 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันตก


สถานที่สำคัญในหมู่บ้าน

วัดถ้ำแสงธรรมพรมมาวาส เป็นวัดป่า มีถ้ำและหินงอก-หินย้อยสวยงาม


ข้อมูลจากประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอปากชม โดย กศน.อำเภอปากชม จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย พ.ศ.2553

สิ่งอำนวยความสะดวก