บ้านายางใต้

ไม่ระบุเวลา

แผนที่การเดินทาง

ติดต่อสอบถาม

ที่อยู่:
-ไม่ระบุ-
โทร:
-ไม่ระบุ-
อีเมล:
-ไม่ระบุ-
เว็บไซต์:
-ไม่ระบุ-
เฟซบุ๊ก:
-ไม่ระบุ-
ไลน์ไอดี:
-ไม่ระบุ-
เรียกชื่อตามนาหรือท้องนา ซึ่งเต็มไปด้วยต้นยาง ใหญ่ ที่มีอยู่ทั่วไป (นา หมายถึง ที่สำหรับปลูกข้าว ยาง หมายถึง ต้นยางซึ่งเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ เนื้อไม้แข็งพอสมควร ใช้ปลูกสร้างบ้านเรือน และยางใช้สำหรับทำไต้จุดไฟ บ้านนายางใต้ เป็นหมู่บ้านอยู่ทางใต้ลำน้ำพอง

ประวัติบ้านายางใต้
ที่ตั้ง ม.5 ต.ภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย

ความหมายของชื่อหมู่บ้าน
เรียกชื่อตามนาหรือท้องนา ซึ่งเต็มไปด้วยต้นยาง ใหญ่ ที่มีอยู่ทั่วไป (นา หมายถึง ที่สำหรับปลูกข้าว ยาง หมายถึง ต้นยางซึ่งเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ เนื้อไม้แข็งพอสมควร ใช้ปลูกสร้างบ้านเรือน และยางใช้สำหรับทำไต้จุดไฟ บ้านนายางใต้ เป็นหมู่บ้านอยู่ทางใต้ลำน้ำพอง ติดบ้านนายางเหนือ เพราะที่ตั้งหมู่บ้านเป็นทุ่งนาและต้นยางมาก)

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
ประมาณ 200 ปี บ้านนายางใต้ตั้งอยู่บ้านเก่าโคก ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของบ้านนายางใต้ ห่างประมาณ 2 กิโลเมตร ก่อนจะแยกย้ายออกมาเนื่องจากเกิดผีร้าย ชาวบ้านอกสั่นขวัญหาย จึงออกมาตั้งหมู่บ้านใหม่ ชื่อบ้านเก่ากลาง ซึ่งอยู่ใกล้ๆ โรงเรียนบ้านนายางในปัจจุบัน บริเวณโรงเรียนเป็นที่ตั้งวัด ต่อมาเกิดความแห่งแล้งไกลจากแหล่งน้ำ จึงย้ายไปอาศัยใกล้ลำน้ำพอง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่ม 1 ไปตั้งอยู่ทางเหนือแม่น้ำพอง เรียกว่า บ้านนายางเหนือ กลุ่มที่ 2 มาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางใต้แม่น้ำพอง จึงเรียกว่า บ้านนายางใต้ จนถึงปัจจุบัน
บ้านนายางใต้ ม.6 ปี 2510 ต.ศรีฐาน ได้แยกหมู่บ้านเพิ่มอีกหมู่บ้าน บ้านนายางใต้จึงเป็นหมู่ที่ 10 เมื่อวันที่ 1พฤษภาคม 2551 ได้แยกตำบลที่อยู่ ต.ถิ่นฐาน เป็นตำบลภูกระดึง อำเภอภูกระดึง ปัจจุบันเป็นบ้านนายางใต้ หมู่ที่ 5 ตำบลภูกระดึง อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย
พ.ศ.2552 ไดแยกหมู่บ้านเป็น 4 หมู่บ้าน บ้านนายางเหนือ หมู่ที่ 4 บ้านนายางใต้ หมู่ที่ 5 บ้านหนองขอน หมู่ที่ 12 บ้านนายาง หมู่ที่ 13ในเริ่มแรกบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านจะมีต้นยางเป็นจำนวนมาก จึงตั้งชื่อบ้านว่า นายาง ในปี พ.ศ. 2516 - 2517 มีการสัมปทานไม้จึงถูกตัดไป3 ตระกูลที่ก่อตั้งบ้านนายางใต้คือ ตระกูลครสิงห์ ลาลู่ และบุดดาเวียง

ลำดับผู้ใหญ่บ้าน
1.นายไต ครสิงห์ ผู้ใหญ่บ้านคนแรก
2.นายหา กัณหาไชย
3.นายสรวง ครสิงห์
4.นายปุ่น บาบุญ
5.นายคำหมา ครสิงห์
6.นายผัง ครสิงห์
7.นายทองคำ ครสิงห์
8.นายคอง แนวสัตย์ซื่อ
9.นายสรวง แสนสีหา
10.นายใหม่ ครสิงห์
11.นายอุดม บาบุญ
12.นายใหม่ ครสิงห์
13.นายอุทัย ครสิงห์ ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน

หลักฐานที่พบทางประวัติศาสตร์
- วัดพระธาตุเจดีย์ (ตามที่ชาวบ้านเรียก)สันนิษฐานว่าบรรพบุรุษพระธาตุหรือกระดูกของบุคคลสำคัญในสมัยก่อน ซึ่งเป็นที่เล่ากันมาว่ามีพระธาตุเจดีย์เล็กๆอยู่กลางป่าไผ่ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยขอมเข้าครองอาณาจักร ซึ่งพระธาตุเจดีย์ เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกด้วยศิลาทั้งองค์ ขนาดหน้าตัก 1 เมตร สูง 1.50 เมตร ไม่มีเศียร (เล่ากันว่าช้างหัก) ตั้งอยู่กองอิฐมอญ อยู่ในป่าดงดิบ มีต้นมะขาม ต้นมะข่า ต้นตะเคียนทอง และต้นไม้อื่นๆ คุณยายตาว ครสิงห์(เสียชีวิตแล้ว) เมื่อปี พ.ศ.2523 อายุขณะนั้น 85 ปี กล่าวว่าตอนเป็นเด็กพอจำความได้ ท่านยังอาศัยอยู่บ้านเก่าโคก ได้มาทรงน้ำพระธาตุกับพ่อ แม่ ของคุณยายในเดือน 5 ท่านบอกว่าพระธาตุยังมีเศียร ต่อมาก็ย้ายมาอยู่บ้านนายางใต้ ต่อมาภายหลังได้พบองค์พระไม่มีเศียร และไม่มีใครสืบเสาะหา เพราะเป็นป่ารกมาก ใครไปตัดไม้บริเวณนั้น มักมีอันเป็นไป เช่น ชัก ป่วยไข้ ตายก็มี
เมื่อมี พ.ศ.2505 ชุมชนบ้านนายางใต้มีประชากรเพิ่มขึ้นมี 80 หลังคาเรือน มีราษฏร 328 คน ครั้นปี 2517 ได้สร้างวัดบริเวณพระธาตุ จึงได้สร้างศาลาการเปรียญ ให้องค์พระธาตุอยู่ในห้องมีประตูหน้าถังเหล็กปิดไว้ ด้านนอกจะเป็นที่พระสงฆ์ทำพิธีกรรมทางศาสนากับทายก ทายิกา (ในการสร้างศาลาการเปรียญครั้นได้ทำลายฐานอิฐมอญ ปัจจุบันคงเหลือแต่ฐานหินติดกับองค์พระ) จากนั้นมา คนเฒ่าคนแก่ต่างเคารพนับถือ ถึงวันที่ 13 เมษายน ทุกปี จะไปลดน้ำอบน้ำหอมสรงทุกปี และวิญญาณของเจ้าปู่บ้านนายางใต้ เข้าทรงเทียม(ร่างทรง) ครั้งใด ก็จะมีวิญญาณขององค์พระธาตุ มาเข้าทรงหลังเจ้าปู่บ้านออกไป จะบอกกับชาวบ้าน ผู้เข้าร่วมพิธีทรงทุกครั้งว่า กูคือ ปู่ธาตุ กูอยู่มาตั้งแต่สมัยทวารวดี กรุงสุโขทัย กูเป็นพระ ถึงวันพระ ถึงวันพระ 14 – 15 ค่ำ เดือนดับ เดือนเพ็ญในเทศกาลเข้าพรรษา กูห้ามพวกสูทำนาทำไร่ ถ้าไม่เชื่อก็ลองดู ผู้มักทดลองและท้าทายก็ทำนาทำไร่ในวันดับวันเพ็ญ ก็มีอันเป็นไปจริง เจ็บเอว เจ็บขา ไปไม่ได้ และบางครั้งไปเก็บพริกในสวนหรือไร่ จะมีเสือโคร่งลายกระโดดใส่ แยกเคี้ยวใส่ ร้องคำราม ผู้ฝ่าฝืนจะพบบ่อยๆ
เมื่อครั้งหน้าฝน เดือน 6 พฤษภาคม ทุกปี และหน้าแล้งเดือน 4 มีนาคม ทุกปี จะมีการเลี้ยงเจ้าปู่บ้าน เจ้าปู่ผาแดง องค์พระธาตุจะบอกเลยว่า ผู้นั้นมันไม่เชื่อไปทำนาเก็บผักหักฝืนเห็นไหม ผู้คนที่ร่วมฟังได้ยินก็เป็นจริง จึงเกิดการเชื่อถือมาตลอด ทุกปีจะมีการทำบุญธาตุ นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ก่อนเช้าแล้วถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ แต่ภัตตาหารที่ถวายองค์พระธาตุต้องพร้อมทุกครั้ง คณะกรรมการชาวบ้านจะกำหนดเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ทำบุญธาตุ จะมีการทำบั้งไฟขนาดเล็ก 4 บั้ง ถวายพร้อมข้าวอธิษฐาน เสี่ยงทายว่าฝนจะตกดี คนและสัตว์จะเจ็บป่วยเป็นพยาธิ เหล่านี้ต่างอธิษฐานก็ปรากฏเป็นจริง จึงเกิดความเชื่อและถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณียึดถือปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้
บางครั้งจะมีนักท่องเที่ยว นักศึกษาสถาบันต่างๆ มากราบไหว้ ศึกษาประวัติองค์พระธาตุประจำมิได้ขาดนับว่าบ้านนายางใต้มีโบราณวัตถุสมัยดึกดำบรรพ์มีอยู่ในหมู่บ้าน เป็นที่ท่องเที่ยวศึกษาประวัติศาสตร์ชาติไทย
ชนชาติขอม คือ บรรพบุรุษของชาวกัมพูชาในปัจจุบัน ได้รับอิทธิพลการเผยแพร่ศาสนาฮินดู(พราหมณ์)จากประเทศอินเดีย ตั้งแต่งช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 6 โดย พ่อค้าที่อินเดียที่เดินทางไปติดต่อค้าขายทางเรือนำไปเผยแพร่ จึงสันนิษฐานว่าชนชาติขอมอาจจะได้รับอิทธิพลการสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรกมาจากอินเดีย ซึ่งเชื่อกันว่า อินเดียเป็นต้นคิดของการสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรกสมัยเมืองพระนครนั้น ชนชาติขอมยังคงนับถือศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย

แหล่งท่องเที่ยว/สถานที่แนะนำของบ้าน
- ถ้ำเทวดาเป็นถ้ำที่สวยงามมาก ดุจเทวดาเป็นผู้สร้าง จึงได้ชื่อว่า ถ้ำเทวดา
- ถ้ำพระอินทร์
- ถ้ำเสือ
- ห้วยบักหม่าง คือ ผลไม้ชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายมะม่วง กลิ่นฉุน มีรสเปรี้ยว

รูปร่างลักษณะโดยสังเขป
เป็นถ้ำบรรจุคนประมาณ 100 คน มีหินย้อยงดงามมาก ภายในมีแอ่งน้ำ มีปล่องอากาศหรือแสงเข้าไปในถ้า 3 ทาง รวมทั้งทางเข้าอีก 1 ทาง อากาศยานปรอดโปร่งดี ที่ตั้งของถ้ำอยู่บนภูเขาทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านห่างจากหมู่บ้านประมาณ 10 ก.ม.


ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอภูกระดึง โดย กศน.อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย

สิ่งอำนวยความสะดวก