บ้านยาง

ไม่ระบุเวลา

แผนที่การเดินทาง

ติดต่อสอบถาม

ที่อยู่:
-ไม่ระบุ-
โทร:
-ไม่ระบุ-
อีเมล:
-ไม่ระบุ-
เว็บไซต์:
-ไม่ระบุ-
เฟซบุ๊ก:
-ไม่ระบุ-
ไลน์ไอดี:
-ไม่ระบุ-
บ้านยางตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ใดไม่ปรากฏ พวกแรกที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณบ้านยางเดี๋ยวนี้เรียกตนเองว่า พวกยาง อพยพมาจากที่ใดไม่ปรากฏแน่ชัด

บ้านยาง
หมู่ที่ 5 ตำบลท่าลี่ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
ความหมายของชื่อหมู่บ้าน
ยางเป็นชื่อของคนเผ่าหนึ่ง ซึ่งอพยพมาอยู่บริเวณนี้ก่อนพวกอื่น ๆ
ประวัติความเป็นมาของการตั้งชื่อหมู่บ้าน
บ้านยางตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ใดไม่ปรากฏ พวกแรกที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณบ้านยางเดี๋ยวนี้เรียกตนเองว่า พวกยาง อพยพมาจากที่ใดไม่ปรากฏแน่ชัด มาตั้งบ้านเรือนประมาณ 10 หลังคาเรือน หลักฐานซึ่งพวกยางได้สร้างไว้ปัจจุบันนี้ยังอยู่ คือ วัดอุโมงค์ และพระพุทธรูปซึ่งอยู่ในอุโมงค์ เหตุที่เชื่อวัดอุโมงค์ เพราะอุโมงค์สำหรับเก็บพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของวัดนี้ ต่อมาพวกยางเหล่านั้นได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานที่อื่น โดยไม่ทราบสาเหตุการอพยพทิ้งที่ไว้รกร้างว่างเปล่า
ต่อมาราว พ.ศ. 2410 ได้มีชนพวกหนึ่งซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านนาข่า ฝั่งซ้ายของฝั่งแม่น้ำเหืองได้อพยพมาโดยมีหัวหน้าชื่อ แสนดวงมาลา แสนเทพ หมื่นไชย หมื่นฤทธิ์ เพียพรหม เห็นบริเวณบ้านยางเป็นที่เหมาะสมจะตั้งหมู่บ้านได้ จึงสร้างบ้านเรือนอยู่ที่เก่าของพวกยางตามริมฝั่งแม่น้ำคานทางด้านทิศตะวันตก เหตุที่ชาวบ้านนาข่า อพยพมาอยู่ที่บ้านยางนั้นเพราะประกอบกับการที่ไม่ชอบระบบการปกครองของฝรั่งเศส จึงชักชวนกันมาอยู่ที่บริเวณดังกล่าว
สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งก่อสร้างสำคัญ
วัดอุโมงค์มังคลารามเป็นวัดเก่าแก่ซึ่งสร้างโดยพวกยาง มีเจดีย์ (ธาตุ) บรรจุกระดูกของพวกยาง วัดนี้ถือเป็นวัดศักดิ์สิทธิ์เล่ากันว่ามีทรัพย์สมบัติของคนสมัยก่อน ๆ ฝั่งไว้บริเวณแท่นอุโมงค์ หรืออาจจะเป็นสมบัติของพวกยางซึ่งได้ฝั่งได้ก่อนอพยพหนีโรคระบาด ก็เป็นได้แต่ก็ไม่มีใครกล้าที่จะขุดไป เพราะเกรงจะถูกคำสาปแช่งของพวกยาง
น้ำตกตาดฝนอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่บ้าน 5 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่ตกลงมาจากยอดเขาแล้วกลายเป็นลำห้วยหีบ น้ำตกมีตกตลอดปีโดยเฉพาะในฤดูฝนจะมีน้ำตกมากเป็นพิเศษ หลังฤดูเก็บเกี่ยวแล้วชาวบ้านมักจะพากันไปพักผ่อนหย่อนใจที่นี่
ภูผาแง่มตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านประมาณ 6 กิโลเมตร สูงชันซับซ้อนด้วยเขาหลายลูก เขาลูกนี้เป็นสัญลักษณ์ของ อ.ท่าลี่ มีนักมวยหลายคนนำไปใช้เป็นฉายาว่า สิงห์ผาแง่ม ด้วยเหตุที่เขาสูงชัน จึงไม่ค่อยมีใครไต่ไปถึงยอดได้บ่อยนัก


ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอปากชม โดย กศน.อำเภอปากชม จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย พ.ศ.2553

สิ่งอำนวยความสะดวก