บ้านปากเนียม

ไม่ระบุเวลา

แผนที่การเดินทาง

ติดต่อสอบถาม

ที่อยู่:
-ไม่ระบุ-
โทร:
-ไม่ระบุ-
อีเมล:
-ไม่ระบุ-
เว็บไซต์:
-ไม่ระบุ-
เฟซบุ๊ก:
-ไม่ระบุ-
ไลน์ไอดี:
-ไม่ระบุ-
หมู่บ้านปากเนียม ตั้งชื่อตามพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ชื่อว่า ต้นเนียม ซึ่งขึ้นตามลำห้วย พืชชนิดนี้เป็นพืชชนิดล้มลุก ลักษณะคล้ายกับต้นผักคราดใบมีกลิ่นหอม

ประวัติบ้านปากเนียม
หมู่ 5 ตำบลห้วยพิชัย อำเภอปากชม จังหวัดเลย

ความหมายของชื่อหมู่บ้าน
ปาก บริเวณต้นน้ำ
เนียม ต้นไม้ชนิดหนึ่ง
หมู่บ้านปากเนียม ตั้งชื่อตามพรรณไม้ชนิดหนึ่งชื่อว่า ต้นเนียม ซึ่งขึ้นตามลำห้วย พืชชนิดนี้เป็นพืชชนิดล้มลุก ลักษณะคล้ายกับต้นผักคราดใบมีกลิ่นหอม ใช้ใบตำให้ละเอียดแล้วไปสระผมได้ เพราะเกิดเป็นฟองและมีกลิ่นหอมขณะนี้ในหมู่บ้านปากเนียม พืชชนิดนี้ยังมีอยู่แต่ไม่มาก

ประวัติของหมู่บ้าน
สมัยก่อน มีครอบครัวย้ายมาจากหลวงพระบาง 7 ครอบครัว มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ ยอดน้ำเนียม และเมื่อมีครอบครัวขยายขึ้นมาก ก็มีครอบครัวของ นายดำ สิงห์คำกุล,นายตั้ง ทาบัว, นายจอน บุญดวงดี, นายขัย หาดา และนายสง หาดา ก็พากันย้ายออกมาตั้งหมู่บ้านใหม่ อยู่ที่ปากน้ำเนียมติดกับลำน้ำโขง เลยตั้งชื่อหมู่บ้านว่า ปากเนียมก็คือบ้านปากเนียมในปัจจุบัน

ลักษณะที่ตั้งของหมู่บ้าน
บ้านปากเนียม ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอปากชม ตามถนนสายปากชม – ศรีเชียงใหม่ ห่างจากอำเภอปากชมประมาณ 7 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดเลยประมาณ 106 กิโลเมตร พื้นที่หมู่บ้านทั้งหมดประมาณ 6,500 ไร่

อาณาเขตของหมู่บ้าน
ทิศเหนือ ติดกับแม่น้ำโขงและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปปล.)
ทิศใต้ ติดกับบ้านสงาว หมู่ 4ตำบลห้วยพิชัย
ทิศตะวันออก ติดกับบ้านปากปัด หมู่ 3ตำบลห้วยพิชัย
ทิศตะวันตก ติดกับบ้านปากชม หมู่ 1และบ้านศรีภูธร หมู่ 3 ต.ปากชม

ผู้นำชุมชน
1. นายดำ สิงห์คำกุล ผู้ใหญ่บ้าน
2. นายตั้ง ทาบัว ผู้ใหญ่บ้าน
3. นายไข หาดา ผู้ใหญ่บ้าน
4. นายยัง มีสี ผู้ใหญ่บ้าน
5. นายปุ่น ละตา ผู้ใหญ่บ้าน
6. นายชุม หาดา ผู้ใหญ่บ้าน
7. นายโพน ยาแก้ว ผู้ใหญ่บ้าน
8. นายสาย บุตรตา ผู้ใหญ่บ้าน
9. นายบุญเทือม ดีตา ผู้ใหญ่บ้าน
10.นายสงคราม อินทะปัญญา ผู้ใหญ่บ้าน
11. นายยงยุทธ วุฒิวงศ์ ผู้ใหญ่บ้าน

สถานที่สำคัญและแหล่งท่องเที่ยว
แม่น้ำโขงซึ่งมีเกาะแก่งที่สวยงามตามธรรมชาติ แก่งพาน

สถานที่สำคัญ ทางประวัติศาสตร์
ดอนชม เป็นดอนน้ำกลางแม่น้ำโขง ซึ่งมีวัดเก่าแก่อยู่และมีพระเสี่ยงทายซึ่งได้เสียงทายว่าหากจะไปอยู่บ้านไหนให้ยกขึ้น ปรากฏว่าเมื่ออธิฐานว่าจะเอาไปประดิษฐานอยู่ที่บ้านปากเนียมเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองเพื่อให้ชาวบ้านสัการะบูชาปรากฏว่ายกขึ้น คนเก่าคนแก่จึงเอาใส่ถุงสะพายข้ามแม่น้ำโขงมาไว้ที่วัดศรีภูมิ บ้านปากเนียมจนถึงปัจจุบัน

ประเพณี / วัฒนธรรม
ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีในบ้านปากเนียมได้ยึดหลักจารีตประเพณีที่เคยปฏิบัติมาแต่มีบางอย่างที่หดหายและได้ลดความสำคัญลง ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านคือการทำบุญประทายข้าวเปลือก หรือบุญประจำปีของหมู่บ้าน


ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอปากชม โดย กศน.อำเภอปากชม จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย พ.ศ.2553

สิ่งอำนวยความสะดวก